สถานศึกษาเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และสำหรับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงว่าเป็น “ถิ่นเจ้าสัว” รวบรวมมหาเศรษฐีระดับประเทศไว้ด้วยกันหลายท่าน คงต้องยกให้ “โรงเรียนเผยอิง” เปิดรับเฉพาะนักเรียนชายเข้ามาศึกษาเล่าเรียน
โรงเรียนป้วยเอง (สำเนียงแต้จิ๋วของชื่อเผยอิง) ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดย พระอนุวัฒน์ราชนิยม (แต้ตี้ย้ง) นายบ่อนหวย กข อย่างถูกต้องตามกฎหมาย บริจ าคทุนร่วมกับบรรดาพ่อค้าชาวจีนหลายคน เปิดโรงเรียนสอนภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 ตั้งอยู่ในซอยอิสรานุภาพ ติดกับศาลเจ้าเล่าปูนเถ้ากง หรือศาลเจ้าเก่า ถนนทรงวาด แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ส่วนหน้าโรงเรียน หันไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 2 ไร่ 14 ตารางวา มี นายลีเต็กออ เป็นผู้จัดการโรงเรียนคนแรก

การก่อตั้งสืบเนื่องจาก ภาษาจีนกลางได้รับความนิยมมากในยุคนั้น จึงเริ่มจ้างนายก๊วยบุ้นปิง มาเป็นผู้สอน เริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 และด้วยความก้าวหน้าของการสอนภาษาจีนในประเทศไทย โรงเรียนจึงเปิดสอนตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
เรื่องของการโ ฆ ษณาประชาสัมพันธ์นี้ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อทุ กหน่วยงานทุ กองค์กรไม่เว้นแม้แต่สถาบันพื้นฐานของชาติอย่าง “โรงเรียน” ที่ต่างพยายามอวดอ้างสรรพคุณของนักเรียนซึ่งเป็นผลิตผลของโรงเรียนนั้น ๆ
ที่พบเห็นอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบันก็คือการอวดอ้างถึงจำนวนนักเรียนที่สอบติดมหาวิทยาลัยชื่อเสียงโด่งดัง จำนวนนักเรียนที่จบไปเป็นคนดัง จำนวนนักเรียนที่จบไปเป็นนายก หรือแม้แต่จำนวนของนักเรียนที่จบไปเป็น “เจ้าสัว” ซึ่งแม่คนไหนฟังแล้วก็อย ากจะส่งลูกไปเรียนทั้งนั้น เพราะลูกจบมาแล้วไม่จนแน่
สำหรับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงว่าเป็น “ถิ่นเจ้าสัว” นี้จะเป็นโรงเรียนไหนไปไม่ได้นอกจาก “โรงเรียนเผยอิง” ซึ่ง ยุวดี ศิริ ได้กล่าวถึงชื่อเสียงของโรงเรียนดังกล่าวในหนังสือ “ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม” ไว้ว่า “เป็นแหล่งให้การศึกษามหาเศรษฐีระดับเจ้าสัวจำนวนมากที่สุดในเมืองไทย”
นอกจากนี้ผู้เขียนก็ยังได้กล่าวเพิ่มเติมในรายละเอียดที่มาของโรงเรียนซึ่งสรุปได้ว่า โรงเรียนเผยอิงถือกำเนิดในราว พ.ศ. 2459 หรือในสมัยของรัชกาลที่ 6 จากการที่พ่อค้าจีนทั้ง 5 คน ได้แก่ พระอนุวัติราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) กอฮุยเจียะ โค้วปิ้ดจี๋ เชียวเกียงลิ้ง และตั้งเฮาะซ้ง ได้ช่วยกันระดมทุนและรับบริจ าคเงินจากชาวจีนแต้จิ๋วในไทยมาเป็นเงินทุนในการก่อสร้างโรงเรียน เมื่อสามารถรวบรวมเงินได้จำนวน 3 แสนบาท จึงทำการก่อสร้างอาคารหลังแรกบริเวณหลังศาลเจ้า “ปูนเถ้ากง”

ลักษณะทางสถาปัตยก ร ร มของอาคารมีรูปแบบไปในทางตะวันตกหรือเรียกได้ว่ามีทรงแบบ “ฝรั่ง” ตามความนิยมในสมัยนั้น ขัดกับเนื้อในของการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มีความเป็น “จีน” อย่างสิ้นเชิง
ภาพอาคารโรงเรียนเผยอิง มีลักษณะสถาปัตยก ร ร มแบบตะวันต ก สร้างตามสมัยนิยม (ภาพจาก มรดกสถาปัตยก ร ร มในประเทศไทย จัดพิมพ์โดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์, พ.ศ. 2548 )

สำหรับจุดประสงค์ในการสร้างโรงเรียนนี้ก็เพื่อสร้างความแน่นแฟ้นให้ชุมชนจีนในเมืองไทย สร้างเครือข่ายให้กับนักเรียนจีนในอนาคต โดยแผนการเรียนการสอนในยุคแรกเลียนแบบมาจากระบบการศึกษาของจีนแท้ ๆ แต่ละวันนักเรียนจะได้เรียนภาษาจีนถึง 6 ชั่วโมง และเรียนภาษาไทยเพียง 1 ชั่วโมง ส่วนคุณครูที่เชิญมาสอนก็เรียกได้ว่านำเข้ามาจากเมืองจีนเลยทีเดียว
ในช่วงแรกโรงเรียนเผยอิงเปิดสอนเพียงแค่นักเรียนชาย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ พบว่ามีนักเรียนสมัครเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก แต่ต่อมาก็ได้ทำการเก็บค่าเทอมเป็นจำนวนเงิน 3 บาท ซึ่งหมายความว่าเด็กที่จะเข้าเรียนได้ส่วนมากก็ไม่พ้นเป็นลูกคนรวยทั้งนั้น
กิจการโรงเรียนเผยอิงไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นเท่าไรนักเมื่อใน พ.ศ. 2478 หลังจากที่โรงเรียนได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสหศึกษาได้เพียง 2 ปี ก็ต้องถู ก สั่ ง ปิ ดกิจการเนื่องจากทำผิ ด ระเบียบการดำเนินกิจการโรงเรียนโดยการเลิ ก จ้ าง ครูใหญ่คนไทย จากนั้นในปีถัดมาจึงได้ทำการขอเปิดโรงเรียนอีกครั้งพร้อมตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “เฉาโจวกงสวย”
อย่างไรก็ตาม ในช่วงส งค ร ามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนจีนต่าง ๆ ในประเทศไทยซึ่งรวมถึงโรงเรียนเฉาโจวกงสวยถูกปิดตัวลงอีกครั้ง กระทั่งใน พ.ศ. 2489 หลังจากที่สงครามสิ้นสุด โรงเรียนจึงกลับมาเปิดให้การเรียนการสอนอีกครั้ง และในคราวนี้ “เฉาโจวกงสวย” ก็เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น “เผยอิง” ดังเดิม

ตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้มีการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าโรงเรียนเผยอิงเป็นโรงเรียนที่มีอายุเก่าแก่เกือบศตวรรษ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลา โดยทุ กวันนี้โรงเรียนเผยอิงแม้จะยังเป็นโรงเรียนจีน ใช้แบบเรียนจากประเทศจีนและสิงคโปร์ สอนวิชาภาษาจีน สอนการใช้พู่กันจีนและวัฒนธรรมจีนอื่น ๆ ให้แก่นักเรียน แต่การเรียนการสอนโดยหลักก็อ้างอิงตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการประเทศไทย
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ชื่อเสียงการผลิตเจ้าสัวของโรงเรียนเผยอิงเรียกได้ว่าเป็นที่ร่ำลือดูได้จากตัวอย่างรายชื่อศิษย์เก่า เช่น ดร.เทียม โชควัฒนา – ผู้ก่อตั้งและวางรากฐานกิจการในเครือสหพัฒน์ ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องอุปโภคและบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายใต้ชื่อการค้า บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด

ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ – ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร และมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, อดีตประธานก ร ร มการโรงเรียนเผยอิง, อดีตประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมศิษย์เก่าเผยอิง ฯลฯ
ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ – พี่ชาย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์, อดีตก ร ร มการผู้จัดการ ธนาคารนครหลวงไทย
ดร.สมาน โอภาสวงศ์ – ประธานก ร ร มการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, อดีตรองประธานก ร ร มการหอการค้าไทย
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ – น้องชาย ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์, ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ, อดีตรองนายกรัฐมนตรี, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เจริญ สิริวัฒนภักดี – ประธานก ร ร มการบริหาร บริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ นักธุรกิจที่รวยติดอันดับ 2 ของประเทศไทย
ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล – รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 56 ของไทย
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทในเครือจีเอ็มเอ็มแกรมมี่
คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน – อดีตปลัดกรุงเทพมหานคร
สมพล ปิยะพงศ์สิริ – พิธีกรและนักจัดรายการวิทยุ
จากไม่คิดค่าเทอม ต่อมาคิดเทอมละ 3 บาท
ในช่วงแรกโรงเรียนเผยอิง เปิดสอนเพียงแค่นักเรียนชาย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ พบว่ามีนักเรียนสมัครเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก แต่ต่อมาก็ได้ทำการเก็บค่าเทอมเป็นจำนวนเงิน 3 บาท ซึ่งหมายความว่าเด็กที่จะเข้าเรียนได้ต้องมีฐานะ

พ่อค้าจีนทั้ง 5 คน ผู้ก่อตั้ง
การก่อตั้งโรงเรียน เริ่มจากที่พ่อค้าจีนทั้ง 5 คน ได้แก่ พระอนุวัติราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) กอฮุยเจียะ โค้วปิ้ดจี๋ เชียวเกียงลิ้ง และตั้งเฮาะซ้ง ได้ช่วยกันระดมทุนและรับบริจ าคเงินจากชาวจีนแต้จิ๋วในไทยมาเป็นเงินทุนในการก่อสร้างโรงเรียน เมื่อสามารถรวบรวมเงินได้จำนวน 3 แสนบาท จึงทำการก่อสร้างอาคารหลังแรกบริเวณหลังศาลเจ้า “ปูนเถ้ากง” ลักษณะทสถาปัตยก ร ร มของอาคารมีรูปแบบไปในทางตะวันตก หรือเรียกได้ว่ามีทรงแบบ “ฝรั่ง” ตามความนิยมในสมัยนั้น ขัดกับเนื้อในของการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มีความเป็น “จีน” อย่างสิ้นเชิง

“โรงเรียนเผยอิง” ซึ่ง ยุวดี ศิริ ได้กล่าวถึงชื่อเสียงของโรงเรียนดังกล่าวในหนังสือ “ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม” ไว้ว่า “เป็นแหล่งให้การศึกษามหาเศรษฐีระดับเจ้าสัวจำนวนมากที่สุดในเมืองไทย”
ปัจจุบัน โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนทั้งหมดประมาณ 500 คน มี ตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.6 โดยมีแผนกเด็กเล็กก่อนวัยเรียนภายใต้ชื่อ “เผยเหมียว เนอสเซอรี่” เด็กๆ ทุ ก คนในโรงเรียนเผยอิง โรงเรียนสอนภาษาจีนที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทยนี้ จะสอนวิชาสามัญตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และ วิชาภาษาต่างประเทศ 2 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนกลาง โดยใช้แบบเรียนจากประเทศสิงคโปร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มสอนพู่กันจีนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 2 เรียนรู้การใช้พจนานุกรมภาษาจีน ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 4 ส่วนวิชาหมากล้อม (โกะ) เริ่มเรียนในชั้นประถมปีที่ 5
รวมทั้งหล่อหลอม และอมรมบ่มนิสัยจาก “บทบัญญัติการบริหาร 4 หลักการ” คือ สัมมาคารวะ น้ำใจไมตรี สุจริต หิริโอตตัปปะ และ “คุณธรรม 8 ประการ” คือ จงรักภักดี กตัญญู เมตตาธรรม ภราดรภาพ ซื่อสัตย์ น้ำใจไมตรี กลมเกลียวปรองดอง และสันติภาพ ซึ่งเป็นคำสั่งสอน ของขงจื๊อ และนักปราชญ์อื่นๆ ในสมัยโบราณ
ที่มา : thairath, silpa-mag.com