ข้อดีของการเลี้ยงปลาในนา พบว่าปลาจะช่วยกำจัดวั ช พื ชและแ ม ล ง ช่วยให้อินทรียสารต่างๆ สลายตัวได้ง่าย สร้างระบบนิเวศ ช่วยให้ดินมีความสมบูรณ์เป็นการเพิ่มปุ๋ยในดิน จึงส่งผลข้าวมีคุณภาพ ผลผลิตเพิ่มขึ้น นับเป็นการช่วยทุ่นแรงและลดต้นทุนได้อย่ างดี
คุณบวร สาริเพ็ง เกษตรกรหมู่ที่ 6 บ้านฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นคนแรกในชุมชนที่ริเริ่มเลี้ยงปลาในนาเพื่อสร้างรายได้มากว่า 20 ปี ปลาที่เลี้ยงเพื่อใช้บริโภคและจำหน่าย พร้อมกับเลี้ยงเพื่องานวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอำนาจเจริญ ซึ่งได้รับการแนะให้นำปลาที่น่าสนใจเชิงการค้ามาเลี้ยงในพื้นที่ทำนา เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ปลาที่เหมาะสมกับนาข้าว
ครั้นเมื่อได้ข้อสรุปเรื่องชนิดพั น ธุ์ปลาที่เหมาะสมแล้ว ก็นำไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ต่อไป ฉะนั้นจึงทำเป็นศูนย์เรียนรู้ พร้อมกับได้รับแต่งตั้งเป็นประมงอาสา ตั้งแต่ ปี 2550 จ า กการทดลองเลี้ยงในระยะแรกประสบความสำเร็จ โดยพั น ธุ์ปลาที่เหมาะสม คือ ปลาตะเพียน ปลายี่สกและปลานวลจันทร์ อย่ างไรก็ต าม ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้ทดลองเลี้ยงปลากดในนาข้าวแล้วพบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน ทั้งนี้การเลี้ยงปลากดอาจมีขั้นตอนและวิธีที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับราคาข ายที่สูงกว่าชนิดปลาอื่นแล้วก็ถือว่าเป็นความยุ่งย ากที่คุ้มค่า

สำหรับผมมองว่า ปลากดดีมาก เพราะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะข ายแบบมีชี วิ ตหรือปลาก็ได้ราคาสูงเท่ากัน ถ้าเทียบกับปลาชนิดอื่นถ้าเป็นปลาจะราคาลดต่ำมากแบบครึ่งต่อครึ่ง ดังนั้นถ้าเลี้ยงปลากดจะมีรายได้ดี ทั้งนี้เมื่อก่อนไม่คิดว่าจะเลี้ยงปลากดในนาข้าวได้ กระทั่งเมื่อทางเจ้าหน้าที่ประมงมาแนะนำ
จึงพบว่าเลี้ยงได้แบบไม่ย ากเลยคุณบวรกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ สำหรับเหตุผลที่ปลากดมีราคาสูงกว่าปลาชนิดอื่น เพราะปลาชนิดนี้หาได้ย าก มีต้นทุนและวิธีการเลี้ยงที่ยุ่งย ากกว่าปลาชนิดอื่น แต่ที่สำคัญมีรสชาติอร่อย เ นื้ อละเอียดหอม เป็นที่ต้องการของลูกค้า

สำหรับแนวทางการเลี้ยงปลาเพื่องานวิจัยนั้น แบ่งการเลี้ยงเป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย
1.ในบ่อดิน โดยให้อาหารทั่วไปกับอาหารต ามธรรมชาติ
2.เลี้ยงในนาข้าว โดยไม่ให้อาหาร แต่ใช้วิธีใส่ปุ๋ยคอกในนา
ทั้งนี้ เมื่อนำข้อมูลจ า กทั้ง 2 ลักษณะมาพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย ตลอดถึงความคุ้มค่าการลงทุน ผลปรากฏว่าการเลี้ยงในนาข้าวให้ผลดีและค่าใช้จ่ายน้อยมาก แต่ต้องอยู่บนความเหมาะสมของจำนวนปลาที่ปล่อยลงไปเลี้ยง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับต้นข้าวด้วย คุณบวรแนะวิธีการเลี้ยงปลากดให้มีคุณภาพและลดต้นทุนว่า ก่อนการเลี้ยงต้องรอให้ต้นข้าวโต แล้วให้นำปลาซิว ปลาสร้อย หรือกุ้งฝอย มาปล่อยลงในแปลงนาก่อน แล้วรอให้ขย ายพันธุ์มีจำนวนมากขึ้น จ า กนั้นจึงค่อยปล่อยปลากดลงไปเลี้ยง
ซึ่งปลากดเป็นปลากินเ นื้ อ จะกินปลาซิวกับกุ้งเป็นอาหาร ทำให้การเลี้ยงปลากดแทบไม่ต้องให้อาหารเลยจ นถึงจับข าย ส่วนปลาชนิดอื่นที่ปล่อยเพื่อเลี้ยงในนา ควรมีอายุประมาณ 1-2 เดือน แต่ก่อนปล่อยต้องตระเตรียมพื้นที่นาให้พร้อมก่อน โดยในช่วงหน้าแล้งต้องต ากปุ๋ยคอกให้แห้ง แล้วจัดการกรอกใส่กระสอบเตรียมไว้ก่อน พอใกล้ถึงเวลาปล่อยปลาลงนา คือรอให้ข้าวที่ปลูกหลังปักดำสัก 20-30 วัน

หรือรอให้ข้าวเริ่มแตกกอก่อน จึงเทปุ๋ยคอกบริเวณริมคันนา โดยวิธีนี้จะเกิดประโยชน์สองประการ คืออย่ างแรกเมื่อปลากินปุ๋ยเป็นอาหารก็จะไปถ่ายมูลไว้ทั่วแปลงนาเป็นธาตุอาหารของข้าว อีกประการคือเมื่อปลาไปคุ้ยเขี่ยปุ๋ยคอก ช่วยทำให้ปุ๋ยเกิดการกระจายไปทั่วแปลงนา ทำให้ต้นข้าวได้อาหารอย่ างทั่วถึง ทั้งนี้การเลี้ยงปลาและปลูกข้าวจะเก็บผลผลิตพร้อมกันคือ ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน
คุณบวร บอกว่าพื้นที่ในบริเวณชุมชนนี้อาศัยน้ำฝนต ามฤดูกาลเพื่อทำเกษตรกรรม ไม่มีระบบชลประทานเข้ามาช่วย จึงทำนาได้เพียงปีละครั้ง ฉะนั้นปลาที่เลี้ยงในนาข้าวจึงเลี้ยงแล้วมีผลผลิตได้เพียงปีละครั้งเช่นกัน ซึ่งภายหลังหมดช่วงทำนาแล้ว ชาวบ้านที่ยังไม่จับปลาข ายก็จะนำปลาไปเลี้ยงต่อในบ่อที่ทางราชการขุดไว้ต ามแต่ละชุมชน อย่ างไรก็ต าม ภายหลังทดลองเลี้ยงปลาในนาก็พบว่าพั น ธุ์ปลาเกล็ดอย่าง ปลาตะเพียน ปลาไน ปลายี่สก หรือปลากด สามารถเลี้ยงรวมในแปลงเดียวกันได้ แต่ต้องพิจารณาปล่อยจำนวนปลาแต่ละชนิดต ามความเหมาะสม เพราะถ้าแน่นเกินไป อาจส่งผลต่อขนาดตัวปลาที่ไม่สมบูรณ์และไม่มีคุณภาพ

ทั้งนี้การเลี้ยงปลาในนาไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอย่ างอื่น นอกจ า กปุ๋ยคอกที่ใช้เพื่อเป็นอาหารปลาและข้าวไปพร้อมๆ กัน จ นกระทั่งเมื่อครบเวลาเกี่ยวข้าว (ประมาณ 4 เดือน) ก็จะจับปลาไปพร้อมกัน สำหรับวิธีจับปลา จะขุดบ่อขนาด 4×4 เมตร ไว้มุมใดมุมหนึ่งของแปลงนา โดยไม่ต้องปลูกข้าว หรือที่ชาวอีสานเรียก “ปลาข่อน” เพราะพอถึงเวลาเกี่ยวข้าว เมื่อน้ำลดลงปลาจะว่ายไปรวมกันในบ่อที่ขุดไว้จะสามารถจับปลาได้โดยง่าย โดยหลังจ า กฤดูทำนาจะย้ายปลาไปไว้ในบ่อที่ทางราชการขุดไว้ ซึ่งมีขนาด 15×25 เมตร
เป็นบ่อรวมของหมู่บ้านของแต่ละชุมชนที่ต้องช่วยกันรักษา เมื่อจับปลาแล้วจะต้องแบ่งกัน หากปีใดน้ำมากสามารถเลี้ยงปลาได้จำนวนมากก็จะเก็บปลาไว้เพื่อนำไปแปรรูปเป็นปลาส้มและปลาร้า สร้างรายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้าน ทั้งนี้การเลี้ยงปลาควรเลี้ยงในช่วงต้นฝนหรือเป็นช่วงที่ปลูกข้าว
แล้วจับข ายในช่วงปลายปีไปพร้อมกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว นอกจ า กนี้และไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่ทำนาจะสามารถเลี้ยงปลาได้ เ นื่ องจ า กมีข้อจำกัดในเรื่องความสมบูรณ์ของน้ำ และพื้นที่ที่เหมาะสมควรมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทาน และควรมีน้ำตลอดปี ไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน
ทางด้านแหล่งพันธุ์ปลาที่นำมาเลี้ยง ได้มา 2 แบบ คือ ในกรณีที่ต้องการนำปลามาเลี้ยงเพื่อบริโภค ชาวบ้านสามารถแจ้งความประสงค์ขอพันธุ์ปลาต ามที่ต้องการ ส่วนจำนวนต้องให้ทางราชการกำหนดความเหมาะสม ส่วนการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ จะต้องแจ้งชื่อและพั น ธุ์ปลาที่ต้องการไว้ล่วงหน้า พอถึงเวลาก็ไปรับ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง อย่างไรก็ต าม ในทางปฏิบัติทางราชการไม่สามารถให้ปลาได้มาก
เพราะมีงบประมาณจำกัด ดังนั้นจึงมักแนะนำให้ชาวบ้านไปหาซื้อพั น ธุ์ปลาต ามฟาร์มที่เชื่อถือได้ เพราะจะได้จำนวนปลาต ามที่ต้องการ “สำหรับจำนวนปลาที่เหมาะสมกับการปล่อยในนาข้าว ควรมีประมาณ 3,000 ตัวต่อ 1 แปลงนา โดยสามารถเลี้ยงปลาได้หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน และที่สำคัญคือ พย าย ามแนะนำให้เลี้ยงปลาที่ใช้ต้นทุนต่ำที่สุด” คุณสาคร โสภา ประมงอำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ กล่าว
เรียบเรียงโดย 1ไร่ไม่จ น