โคก-หนอง-นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบ
ตอนนี้แอดมินเชื่อว่าหลายๆคนเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ก็คงเริ่มเก็บเงินเพื่อที่จะสร้างเนื้อสร้างตัว มีน้อยก็เก็บน้อย มีเงินมากก็เก็บมากขึ้น เพื่อวางแผนใช้ชีวิตหลังจากเกษียณการทำงานให้มีความสุข หญิงคนนี้ก็ต้องการชีวิตหลังเกษียณที่มีความสุขและสงบสบายใจ
เช่นเดียวกันสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กคุณ Pum S. Sintupachee ได้เล่าประสบการณ์หลังจากที่เธอเก็บหอมรอบริบเงินจากการทำงาน กลายเป็นเงินออมก้อนหนึ่ง และนำมาลงทุนกับการซื้อที่ดินทำ “โคกหนองนา” สานฝันของตัวเอง ไว้ใช้ชีวิตที่นี้หลังจากเกษียณจากงาน

โดยเธอตั้งใจไว้ว่า ที่ดินผืนนี้ จะทำให้เป็นพื้นที่สำหรับหล่อเลี้ยงชีวิตยามเกษียณ ได้มีอะไรทำ ไม่ต้องลำบาก และยังมีเวลาค่อยๆ พัฒนาพื้นที่ให้เป็นโคกหนองนาอีกมาก ก่อนจะเกษียณจริงๆ ซึ่งถือว่าเป็นการมองการณ์ไกลมากๆ คุณ Pum S. Sintupachee ตั้งใจจะเข้าสู่เส้นทางเกษตร เพื่อไม่ให้ตนเองต้องพึ่งพาลูกหลาน อยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นภาระใคร และจะเป็น “คนแก่” ที่มีคุณภาพ

โดยก่อนหน้าที่จะทำโคกหนองนาแบบนี้ได้นั้น เธอยังได้ให้ข้อมูลว่า ต้องร่างแบบลงในคอมพิวเตอร์ ปรับอัตราส่วนให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงส่งให้ทางเทศบาลและ อบต. ในพื้นที่อนุมัติ ก่อนจะมาเริ่มปรับพื้นที่แบบนี้
คุณ Pum S. Sintupachee ยังได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า บางคนอาจจะคิดทำการเกษตรเพื่อค้าข ายและเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่สำหรับเธอเพียงแค่ทำไว้พักผ่อนหย่อนใจ ให้มีอะไรทำในยามเกษียณ และที่ดินนี้ก็จะได้เป็นมรดกของลูกหลานต่อไป เพราะมันมีมูลค่าในตัวเอง

โคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1 โคก: พื้นที่สูง
ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ
ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าข าย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ าย
ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

2 หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ
ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)
ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้
ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง
พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

3 นา:
พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน
ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา
ที่มา : Pum S. Sintupachee