สวัสดีท่านผู้อ่านที่น่ารักทุ กท่าน ก่อนอื่นแอดมินและทีมงานเพจเกษตรผสมผสานก็ขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านยังคงติดตามผลงานของเราตลอดมา ทางทีมจะคอยนำเสนอเรื่องราวดีๆ ให้ความเพลิดเพลินใจและมีประโยชน์แก่แฟนเพจทั้งหลายให้ท่านได้อ่านอยู่เป็นนิจนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกษตร ธรรมะ ทำบุญ หรือเรื่องราวชีวิตต่างๆเช่นเคยนะคะ ทางทีมงานของฝากคำคมไว้เช่นเคยนะคะ ปริมาณของ “ความสุข” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของ “สิ่งดี ๆ” ที่เราได้รับ แต่อยู่ที่ “มุมมอง” ของเราที่มีต่อ “สิ่งเหล่านั้น” ต่างหาก
เลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ อาชีพเสริมเลี้ยงง่ายราคาดี เป็นไก่พันธุ์แท้ที่กรมปศุสัตว์ผลิตขึ้นเพื่ออนุรักษ์เป็นไก่พื้นเมืองของไทย สามารถเลี้ยงเพื่อการกีฬา หรือเพื่อการบริโภคได้ เนื่องจ า กมีรูปร่างปราดเปรียว กล้ามเนื้อแข็งแรง ไขมันแทรกน้อย มีความทนทานต่อโ ร คดี ให้ลูกดกกว่าพันธุ์เมืองทั่วไป หากินเก่ง เนื้อไก่มีรสชาติอร่อย สามารถเลี้ยงแบบขัง ในโรงเรือนหรือเลี้ยงปล่อยต ามธรรมชาติ ควรให้วัคซีนป้องกันโ ร ค และถ่ายพยาธิอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผลผลิตมากขึ้น

ขอบคุณเจ้าของภาพ
การศึกษาโดยเจ้าหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ปีก กรมปศุสัตว์ พบว่า ถ้าเลี้ยงในปริมาณที่เหมาะสม มีระบบจัดการเรื่องอาหาร สภาพแวดล้อมที่ดี ไก่พื้นเมืองสามารถนำมาเลี้ยงแบบฟาร์มได้ ไม่มีปัญหาเรื่องไก่จิกตีกันจ นต าย

ขอบคุณเจ้าของภาพ
ซึ่งสำหรับการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำนั้น ถูกมองเป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจเพราะ ไก่สายพันธุ์เราสามารถเลี้ยงแบบขังหรือแบบโณงเรือนได้เลย และอีกอย่างไก่สายพันธุ์ถือว่ามีภูมิต้านทานโ ร คที่สุงถ้าเราหมั่นดูแล้วทำความสะอาดโรงเรือน ไก่ที่เลี้ยงอาจจะไม่เป็นโ ร คเลยก็ได้ ด้วยอัตราการลงทุนที่ต่ำแต่มีการขยายพันธุ์ที่สูงและไว และราคาคงที่อยู่เสมอ
สำหรับต้นทุนในการเริ่มเลี้ยง
พ่อแม่พันธุ์ไก่ จำนวน 12 ตัว (แบ่งเป็นตัวผู้ 2 ตัว และ ตัวเมีย 10 ตัว) 3,000 บ าท
ค่าอาหารสำเร็จรูป จำนวน 300 ก.ก.ๆละ 15 บ าท 4,500 บ าท
ค่าเวชภัณฑ์ วัคซีนป้องกันโ ร ค ยาถ่ายพยาธิ ยารักษา 500 บ าท
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ น้ำ ไฟฟ้า อุปกรณ์ต่างๆ 1,000 บ าท
รวมค่าใช้จ่าย 9,000 บ าท
สำหรับพื้นที่โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่ ขนาดพื้นที่สำหรับเลี้ยงไก่ที่เหมาะสม โดยพื้นที่ 1 ต ารางเมตร สามรถเลี้ยงไก่ได้ประมาณ 10 – 15 ตัว ซึ่งโรงเรือนขนาด 4 X 8 เมตร นั้นจะสามารถเลี้ยงไก่ได้ประมาณ 400 – 500 ตัว
การอนุบ าลลูกไก่เล้าอนุบ าลลูกไก่ (กรงอนุบ าล) พื้นควรรองด้วยวัสดุแห้ง เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ทราย ฟางข้าว หนา 2-3 ซม. และให้ความอบอุ่นกรณีไม่ได้ฟักธรรมชาติ (แม่ไก่ฟักเอง) อุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ยลูกไก่แรกเกิด 1-7 วัน 32-34 องศา อายุ 8-15 วัน 30-32 องศา และอายุ 16-30วัน28-30 องศา (ใช้ไฟกก หลอด50Wใส่โคมต่อลูกไก่50ตัว) กกไฟตลอดเวลา หากไฟดับ อากาศหนาวเย็นมาก ให้เก็บลูกไก่ใส่กล่องกระดาษ (A4) หรือกรง ปิดคลุมให้มิดชิด ประมาณ 20-25 ตัวต่อกล่องกระดาษ (A4) หรือกรงเพื่อป้องกันการเหยียบกันต าE จ า กอากาศหนาว

ขอบคุณเจ้าของภาพ
การให้อาหาร
ลูกไก่ระยะกกควรให้ครั้งละน้อย ๆ เพื่อให้ลูกไก่กินหมดภายในระยะเวลา 1 – 2 ชม. ซึ่งการให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้งเช่นนี้จะทำให้ลูกไก่มีความ กระตือรือร้นในการแย่งกันกินอาหารมากขึ้น และได้กินอาหารใหม่ ๆ อยู่ตลอด ซึ่งการให้ครั้งละมาก ๆ อาหารจะถูกลูกไก่คุ้ยเขี่ยและเหยียบย่ำ และมีขี้ไก่ติด หรือแกลบ ปะปนอยู่ ลูกไก่จะเบื่ออาหารทำให้เจริญเติบโตไม่ดี ความแข็งแรงสมบูรณ์ต่ำลง
แหล่งอาหารที่หาได้ต ามธรรมชาติ ได้แก่ ปลวก,ฝักข้าวโพด ,กล้วยสุก ,แมลงทุกชนิด ,ข้าวเปลือก ,หญ้าอ่อนสด ,หนอนแมลงวันจ า กขี้หมู,มันสำปะหลัง ,หยวกหมัก ,กากมะพร้าว ,กากถั่วเหลือง ,ต้นกล้วย ,เศษอาหารจ า กในครัว (ระวังอย่าให้มีถุงพลาสติก) ,มันฝรั่ง
การให้น้ำ
น้ำที่จัดให้สำหรับไก่ต้องสะอาดปราศจ า กเ ชื้ อโ ร คต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อไก่ทั้งทางตรงและทางอ้อม และมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการของไก่
อุปกรณ์ใส่อาหาร– ใส่น้ำ
เมื่อไก่มีอายุมากขึ้นมีความต้องการอาหารและน้ำมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใส่น้ำ และใส่อาหารจำเป็นต้องจัดให้เพียงพอต่อความต้องการของไก่(อุปกรณ์1อันต่อไก่10-15ตัวช่วงอายุไก่2-3เดือน) ซึ่งอุปกรณ์ใส่น้ำ ก็ต้องล้างให้สะอาดทุกวัน“ควรให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อกระตุ้นการอย า กกินอาหาร “
เรื่องการทำวัคซีนและการถ่ายพยาธิ
ควรนำวัคซีน เข็ม ไซริงค์ มาทำการปรับอุณหภูมิให้เท่ากัน โดยแช่ในกระติกน้ำแข็ง แล้วค่อยดูดตัวทำละลายใส่ในเ ชื้ อวัคซีน เขย่าให้เข้ากันช่วงอายุ 7 วัน นิวคลาสเซิล หยอดต า 1-2 หยด ช่วอายุ 14 วัน หลอดลมหยอดจมูก 1-2 หยดช่วงอายุ 21 วัน ฝีดาษแทงปีกช่วงอายุ 3
เดือนอหิวาต์ฉีดเข้ากล้ามเนื้อการทำวัคซีนควรทำในเวลาและที่อากาศเย็น การถ่ายพยาธิ ควรถ่ายพยาธิทุก 3 เดือน สำหรับพ่อแม่พันธุ์ และ 1 เดือนสำหรับ ลูกไก่
รวมสูตรอาหารไก่ทำเองลดต้นทุน
สูตรอาหารไก่เล็ก ช่วง 0-6 สัปดาห์
ข้าวโพดบด 58.2 กิโลกรัม
รำละเอียด 15 กิโลกรัม
กากถั่วเหลือง 18.5 กิโลกรัม
ปลาป่น 6 กิโลกรัม
เปลือกหอย 0.4 กิโลกรัม
ไดแคลเซียม 1 กิโลกรัม
เกลือ 0.5 กิโลกรัม
สูตรอาหารไก่รุ่น 6-23 สัปดาห์
อาหารไก่รุ่น 60 กิโลกรัม
รำละเอียด 60 กิโลกรัม
ปลายข้าวหรือข้าวโพดบด 100 กิโลกรัม
เปลือกหอย และแร่ธาตุ 5 กิโลกรัม
ขอบคุณข้อมูล : GotoKnow
เรียบเรียงโดย เกษตรผสมผสาน