สวัสดีท่านผู้อ่านที่น่ารักทุ กท่าน ก่อนอื่นแอดมินและทีมงานเพจเกษตรผสมผสานก็ขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านยังคงติดตามผลงานของเราตลอดมา ทางทีมจะคอยนำเสนอเรื่องราวดีๆ ให้ความเพลิดเพลินใจและมีประโยชน์แก่แฟนเพจทั้งหลายให้ท่านได้อ่านอยู่เป็นนิจนะคะ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกษตร ธรรมะ ทำบุญ หรือเรื่องราวชีวิตต่างๆเช่นเคยนะคะ ทางทีมงานของฝากคำคมไว้เช่นเคยนะคะ ปริมาณของ “ความสุข” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของ “สิ่งดี ๆ” ที่เราได้รับ แต่อยู่ที่ “มุมมอง” ของเราที่มีต่อ “สิ่งเหล่านั้น” ต่างหาก
อาชีพชาวนา อาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพหนึ่งของคนไทยที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยอดีตจ นมาในยุคของปัจจุบัน
คนสมัยใหม่มักไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับอาชีพนี้มากนัก เพราะมีความคิดที่ว่า สร้างร ายได้น้อย ทำผลผลิตยาก ต้องใช้เวลานาน แต่ในวันนี้เมื่อคุณได้อ่านบทความนี้ความคิดของคุณจะเปลี่ยนไป มาดูกัน
“ใครว่าทำนาแล้วจ น…ไม่จริงหรอก ทำนามันดีกว่าทำงานกินเงิ นเดือนอีก” นี่คือคำพูดยืนยันหนักแน่นจากปากของ ชัยพร พรหมพันธุ์ เกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนา ที่ ชัยพร พรหมพันธุ์

กล้าการันตีแบบนี้ก็เพราะว่าชาวนาอย่าง ชัยพร พรหมพันธุ์ ทำกำไรเหนาะ ๆ หักต้นทุนเรียบร้อยแล้ว เมื่อฤดูกาลผลิตที่แล้ว 2,000,000 บ าทเศษ และฤดูที่เพิ่งผ่านพ้นไป 1,000,000 บ าทเศษ ๆ และตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีเงิ นเหลือใช้มากพอ จ นสามารถกำหนดเงิ นเดือนให้ตัวเองและภรรยาในอัตราเดียวกับผู้บริหารเสื้อคอปกขาวในเมือง มีโบนัสจากผลประกอบการไม่เคยข าด
โดยเฉลี่ยก็มีร ายได้ตกคนละประมาณ 60,000 – 70,000 บ าท ปีก่อนนี้ซื้อทองเส้นเท่าหัวแม่โป้งมาใส่ พร้อม ๆ กับถอยรถกระบะมาขับเล่น ๆ อีกต่างหาก ซึ่งนอกจากเงิ นเดือนและโบนัสสูงแล้ว ชัยพร พรหมพันธุ์ ยังซื้อที่ดินขยายการผลิตออกไป 30 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 20 ปี ด้วยเงิ นสด ไม่เคยข าดทุนจากการทำนาต่อเนื่องมานับตั้งแต่ปี 2533
ไม่เคยมีห นี้ สิ น มีหลักประกันสุขภาพชั้นดี จากการส่งประกันชีวิตประกันสุขภาพระดับ A เดือนละร่วมแสน ส่งลูก 3 คน เรียนจบปริญญาโทโดยขนหน้าแข็งไม่ร่วง…วันว่างยังพาลูก ๆ ออกไปหาของกินอร่อย ๆ นอกบ้าน ชาวนาคนนี้เขาทำได้อย่างไร ทำไมชีวิตจึงมีเงิ นเก็บมากมายขนาดนี้ วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปเรียนรู้การใช้ชีวิตจากเขากันค่ะ
“ผมล้ มมาเยอะเหมือนกัน” สำเนียงเหน่อ ๆ ของลูกชายคนโตของผู้ใหญ่บ้านแห่ง ตำบลบางใหญ่ ผู้เพียรพยายามหาหนทางตั้งตัว เคยทำแม้แต่นากุ้งและสวนผลไม้คละชนิด แต่สู้น้ำไม่ไหว ต้องกลับมาเป็นชาวนาตามรอยพ่อ
“ทำนาเ ค มีมา 20 กว่าไร่ ครั้งแรกปี 2525 ได้ข้าว 13 เกวียน จำได้แม่นเลย ข ายได้เกวียนละ 2,000 บ าท ข าดทุนยับ พอดูหนทาง เลยไปสมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คิดว่าจะได้เบิกเงิ นค่าเรียนลูก เพราะมองอนาคตแล้วว่าไม่มีปัญญาส่งลูกแน่ แต่ปี 2531 เพลี้ ยกระโดดสีน้ำตาลอาละว าดหนัก แถวบ้านเราโดนกันหมด ก็พอดีอาจารย์เดชา ศิริภัทร ทำเรื่องนาอินทรีย์และใช้สมุนไพร

มาขอทำแปลงทดลองปลูกสมุนไพร พ่อก็แบ่งนาให้ 5 ไร่ ด้วยความเกรงใจ อาจารย์ก็เริ่มทดลองใช้สะเดาสู้กับเพลี้ย เครื่องไม้เครื่องมือเยอะ ผมก็ไปช่วยอาจารย์ฉีด ก็ฉีดไปยังงั้น เราไม่ได้ศ รั ท ธ าอะไร แต่ปรากฎว่าแปลงนาที่ส า ร เ ค มีเ สี ย ห ายหมด ส่วนแปลงนาที่ฉีดสะเดากลับไม่เป็นอะไร
ผมก็เริ่มจะเชื่อแล้ว แต่ก็ยังไม่เต็มร้อย เลยเอามาทำในนาของผมเอง ซึ่งปีนั้นชาวนาโดนเพลี้ยกันเยอะมาก หน่วยปราบศัตรูพืชจังหวัด เขาเลยเอายาที่ผสมส า ร เ ค มีมาแจก
ผมก็ลองเอามาใช้ โดยแบ่งว่าแปลงนานี้ฉีดสารเคมี แปลงนานี้ฉีดสะเดา ซึ่งผลก็ปรากฎออกมาว่า แปลงนาที่ฉีดสะเดาปลอดภัยดี เก็บเกี่ยวข้าวก็ดี แต่แปลงที่ฉีดสารเคมีผลผลิตเสียหมด ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเชื่อสนิทใจ แล้วมาลองทำเองดู
การคิดต้นทุนของเขา ลงทุนเต็มที่ตกไร่ละ 2,000 บ าท ในขณะที่ข ายได้เกวียนละไม่ต่ำกว่า 8,000 บ าท ซึ่งหลังจากเขาทำนาอินทรีย์ได้เพียง 3 ปี มีเงิ นเหลือมากกว่า 6 ปี ที่มัวจมอยู่กับปุ๋ยยา
อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย ก็ใช่ว่าชัยพรจะหวงวิชาความรู้ เขายังได้ให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหา และสนใจในวิถีเกษตรอินทรีย์ ที่โทรมถามาขอคำปรึกษาตามสายแทบจะทุกวัน ใครว่าทำนาแล้วจ น…ไม่จริงหรอก” ชัยพรยืนยันหนักแน่นซ้ำอีก สำคัญตรงที่ต้องทำนาแบบใช้สมอง ไม่ใช่ทำนาแบบเป็นผู้จัดการนาสถานเดียว
ทำอินทรีย์ไม่ได้หรอก ผมก็บอกว่าเมื่อก่อนผมก็เช่า ทำไมยังทำได้ ทำจ นมีเงิ นซื้อนา เขาไม่คิดย้อนกลับไงว่าสมัยก่อน มันมีที่ไหนล่ะ คนโบราณยังได้เกี่ยว

ของเรายังดี มีสะเดาให้ฉีด สมัยโบราณมีที่ไหนล่ะ ไอ้บางคนเห็นข้าวเราเขียว ก็บอกว่าคงแอบใส่ปุ๋ยกลางคืนละมั้ง แหม๋! กลางวันยังไม่มีเวลาเลย จะมาใส่ปุ๋ยกลางคืน ชัยพร กล่าว ทุกครั้งที่ข ายข้าวได้ เขาจะนึกถึงบุคคลที่นำเอาวิธีเกษตรอินทรีย์มาให้เขาได้รู้จัก และปรับใช้ในที่นาของเขา จ นมีเงิ นเหลือเก็บ …
“ถ้าผมไม่ได้เจออาจารย์เดชาก็คงไม่ได้เกิดหรอก คงไม่ได้ส่งลูกเรียนปริญญาโทไป 2 คน อีกคนก็ว่าจะเรียนปีหน้า ลูกมาทีเอาเงิ นค่าเทอมทีละ 40,000 – 50,000 บ าท ก็ยังเฉย ๆ เรามีให้”
ขณะที่ อาจารย์เดชา ศริรภัทร แห่งมูลนิธิขวัญข้าว ผู้เพียรพยายามเผยแพร่วิถีการทำนาอินทรีย์ยืนยันว่า ไม่ได้ช่วยอะไรชัยพรมากกว่านั้น ความสำเร็จทั้งปวงเกิดจากตัวชัยพรเอง แต่สำหรับชาวนา ป.4 ถือเป็นบุญคุณใหญ่หลวงที่ทำให้เขาก้าวมาได้ถึงวันนี้
ลูก 3 คน ของชาวนา ป.4 คนโตกำลังเรียนปริญญาโท สาขาปรับปรุงพันธุ์พืช ที่มหาวิทยาลัยเกษตร กำแพงแสน คนกลางเรียนปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ส่วนลูกสาวคนเล็กเพิ่งจบปริญญาตรี เกียรตินิยม จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตอนนี้ทำงานธนาคาร ทุก ๆ เย็นวันศุกร์ที่ลูก ๆ กลับบ้าน
ครอบครัวชาวนาเล็ก ๆ ก็จะคึกคักมีชีวิตชีวา ขับรถออกไปหาของอร่อยกินกัน ในขณะที่ชาวนาต้นทุนสูงนาติดกันไม่เคยคิดฝันว่าจะมีโอกาสเช่นครอบครัวของชัยพร

และนี่คือวิถีชีวิตของ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาร้อยล้าน ที่สามารถลบคำกล่าวที่ว่า “ทำนามีแต่จ น” ได้สำเร็จ… โดยทั้งหมดทั้งมวลที่ทำให้เขาสามารถมีวันนี้ได้ก็เพราะการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้ส าร เ ค มี นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นอีกด้วย และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาประส บความสำเร็จคือ การเป็นคนขยัน ลงมือปฏิบัติเอง แถมไม่กู้ห นี้ให้เป็นภาระอีกต่างหาก
ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสาร ฅ คน ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 (48) เดือนตุลาคม พ.ศ.2552 เรียบเรียงข้อมูลโดย เพจเกษตรผสมผสาน