เลี้ยงปลากดเหลือง “แบบธรรมชาติ” 5 เดือนจับข ายได้

สวัสดีท่านผู้อ่านที่น่ารักทุ กท่าน ก่อนอื่นแอดมินและทีมงานเพจเกษตรผสมผสานก็ขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านยังคงติดตามผลงานของเราตลอดมา ทางทีมจะคอยนำเสนอเรื่องราวดีๆ ให้ความเพลิดเพลินใจและมีประโยชน์แก่แฟนเพจทั้งหลายให้ท่านได้อ่านอยู่เป็นนิจนะคะ 

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกษตร ธรรมะ ทำบุญ หรือเรื่องราวชีวิตต่างๆเช่นเคยนะคะ ทางทีมงานของฝากคำคมไว้เช่นเคยนะคะ ปริมาณของ “ความสุข” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของ “สิ่งดี ๆ” ที่เราได้รับ แต่อยู่ที่ “มุมมอง” ของเราที่มีต่อ “สิ่งเหล่านั้น” ต่างหาก

การเลี้ยงปลากดเหลือง เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก คุ้นเคยและชอบทานปลาชนิดนี้กันดี เพราะเป็นปลาที่เนื้ออร่อย ทำอาหารได้หลากหลายมาก ทั้ง แกงเหลือง ฉู่ฉี่ ผัดเผ็ด ต้มยำ ปิ้ง ย่าง ฯลฯ จึงทำให้ปลากดเหลืองเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง ราคาดี แต่ปลากดเหลืองที่เรากินกันเป็นประจำนั้นส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่จับจากธรรมชาติ

เพราะปลากดเหลืองพบแพร่กระจายในแหล่งน้ำจืดทั่วไปของทวีปเอเชียเลยทีเดียว เมื่อปลาธรรมชาติลดจำนวนลง ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีสูง จึงทำให้เกิดการเพาะพันธุ์ปลากดเหลืองและเกิดการเพาะเลี้ยงขึ้น ซึ่งก็ได้รับความสนใจและขยายการเลี้ยงกันมากในช่วง 2-3 ปีมานี้เอง แต่ลูกปลายังหายากเพราะคนที่เพาะพันธุ์และผลิตลูกปลากดเหลืองข ายยังมีน้อย

จึงทำให้การเลี้ยงปลากดเหลืองยังขยายตัวไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการลูกปลามีสูงมาก หากใครติดตามเรื่องราวของปลากดเหลืองจะเห็นว่าหน่วยงานที่มีการศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลการเลี้ยงปลากดเหลืองจะเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสกลนครของกรมประมง

วันนี้เราจะไปดูการเลี้ยงปลากดเหลืองของ คุณสมร ลาดบัวขาว หรือ “คุณต่อ” ที่ 144 ม.6 บ้านโนนข่า ต.หันนางาม อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งคุณต่อทำอาชีพเลี้ยงปลาหลากหลายชนิดพร้อมทั้งเพาะพันธุ์ปลาข ายมานานกว่า 10 ปีแล้ว เช่น ปลาหมอ ปลาดุก ปลาบึก ปลากดเหลือง ปลากดคัง ปลาช่อน ปลาสลิด ปลาสร้อย ปลานวลจันทร์ ปลากระโห้ ปลาแรด ปลาตะเพียน รวมทั้งกุ้งพันธุ์กุ้งก้ามกราม กุ้งฝอย จำหน่ายราคาปลีกส่ง

โดยเดิมทีนั้นคุณต่อทำงานเป็นวิทยากรเรื่องเกษตรทั้งปลูกพืช เลี้ยงปลาให้กับโครงการพระราชดำริ จ.นครราชสีมา และหันมาทำฟาร์มเอง ที่ จ.หนองบัวลำภูเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพาะพันธุ์ปลาหลายชนิดจำหน่าย แต่ในช่วง 2-3 ปีมานี้คนสนใจเลี้ยงปลากดเหลืองกันเยอะ จึงเพาะพันธุ์ปลากดเหลืองข ายปีหนึ่งมากกว่าล้านตัวเลยทีเดียว

ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่คนจะหันมาสนใจเลี้ยงปลากดกันเยอะ เพราะราคาหน้าบ่อสูงกว่าปลาอื่นๆ อย่างปลานิลราคาหน้าบ่อ 25 บาท ปลาสลิด 40 บาท ปลาสวาย 10-15 บาท ปลาหมอ 70 บาท ปลากดเหลือง 100 บาท นอกจากราคาดีแล้วปลากดเหลืองยังเลี้ยงง่าย ไม่จุกจิก อัตราการรอดสูงอีกด้วย จึงทำให้คุณต่อเองก็หันมาเลี้ยงปลากดเหลืองมากกว่าปลาอื่นๆเช่นกัน

จริงๆ การเลี้ยงปลากดเหลืองสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อปูน กระชัง หรือบ่อที่ปูพลาสติก แต่ที่แนะนำในครั้งนี้จะเป็นการเลี้ยงในบ่อดินซึ่งปลาจะเติบโตเร็ว ต่างจากบ่อปูน หรือบ่อพลาสติกซึ่งจะควบคุมอุณหภูมิของน้ำได้ยากกว่าทำให้อัตราการเจริญเติบโต ช้ากว่า การเตรียมบ่อเลี้ยงโดยทั่วไปก็จะตากพื้นบ่อให้แห้งพร้อมทั้งปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาว

แต่คุณต่อบอกว่าปลากดเหลืองเป็นปลาที่ไม่ค่อยมีโรคจึงไม่จำเป็นต้องโรยปูนขาวแต่จะสร้างสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ การเลี้ยงในบ่อดินจึงเหมาะสมที่สุด มีบางแห่งจะเลี้ยงในบ่อปูน หรือใช้ผ้าใบปูพื้นบ่อซึ่งคุณต่อบอกว่าการเลี้ยงในสภาพนี้จะควบคุมอุณหภูมิได้ยากกว่าการเลี้ยงในบ่อดิน ทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร โตช้าอีกด้วย

ปล่อยลูกพันธุ์ปลากดเหลืองบนบ่อเลี้ยง

ขนาดบ่อที่นิยมเลี้ยงจะเป็นบ่อขนาด 1 งาน ซึ่งเป็นขนาดที่จัดการง่ายทั้งการเลี้ยงและการจับข ายเพื่อป้อนตลาด หลังจากเตรียมบ่อเสร็จก็จะสร้างอาหารธรรมชาติให้กับลูกปลาโดยใส่ฟางข้าวรองพื้นก้นบ่อ มองว่าไม่ให้ฟางหนาหรือบางเกินไป แล้วใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ อัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ จากนั้นจึงนำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ ระดับน้ำช่วงแรกอาจจะสูง 20-30 ซม. ในช่วงอนุบาล

จากนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับน้ำลึก 1 เมตร และรักษาระดับน้ำขนาดนี้ไปตลอดการเลี้ยง หลัง 3 วันที่ปล่อยน้ำเข้ามาก็จะเกิดอาหารธรรมชาติหรือไรแดงขึ้นมา จึงปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง บ่อขนาด 1 งานนี้จะปล่อยลูกปลาขนาด 1 นิ้ว ได้ 3,000 ตัว ซึ่งราคาลูกปลาไซด์นี้ราคา 2.50 บาท การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของ น้ำ ในถุงและน้ำในบ่อให้เท่าๆกันก่อน โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาทีจึงปล่อยลูกปลา เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นเวลาตอนเย็นหรือตอนเช้า

เน้นอาหารธรรมชาติ เสริมอาหารเม็ดบ้าง

คุณต่อบอกว่าเราสามารถลดต้นทุนค่าอาหารด้วยการให้ไส้เดือนซึ่งปลากดเหลืองจะชอบ โดยบ่อเลี้ยงไส้เดือนควรทำไปพร้อมกับการเลี้ยงปลาเลย ซึ่งไส้เดือนที่จะนำมาเป็นอาหารปลากดนั้นจะเลี้ยง 1 เดือน การเลี้ยงไส้เดือนจะทำในบ่อปูน และให้อาหารธรรมชาติพวกเศษผัก ใบไม้ หญ้าและอาหารธรรมชาติอื่นๆ อัตราการให้ไส้เดือน 4 กก.ต่อพื้นที่ 1 งานทุกวัน ไส้เดือนเป็นอาหารธรรมชาติที่จะช่วยให้ปลากดเหลืองเติบโตเร็วและประหยัดต้นทุนค่าอาหารเม็ดได้อย่างมาก

สำหรับอาหารเม็ดจะให้ช่วงอนุบาล 30 วันแรก ใช้อาหารลูกอ็อด หลังจากอนุบาล 30 วันแล้วเปลี่ยนมา ให้อาหารปลาดุกเล็ก หลังจากใช้อาหารปลาดุกเล็ก ครบ 30 วัน เปลี่ยนมาใช้อาหารปลาดุกกลางจนโตพร้อมจับ (ถ้าเลี้ยงเกิน 6 เดือน เพื่อจะจับปลาอายุ 1 ปี ให้ใช้อาหารปลาดุกใหญ่หลังจากปลาอายุ 6 เดือน จนถึง 12 เดือน) ถ้าสามารถหาอาหารพวกโครงไก่บด เศษปลา อาหารสดจะดีมากๆ สำหรับเลี้ยงปลาและยังมีต้นทุนที่ถูกกว่าด้วย

โดยราคาอาหารเม็ด ถ้าเป็นอาหารลูกอ๊อด อาหารปลาดุกเล็กจะอยู่ที่กระสอบละ 450-550 บาท อาหารปลาดุกกลางอยู่ที่ 400-500 บาท ปลากด 1,000 ตัว จะใช้อาหารประมาณ 10 กระสอบขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติในบ่อนั้นๆด้วย โดยอาหารเม็ดจะให้วันละ 2 มื้อ ประมาณ 1-2 ถ้วย ควรจะให้พอดีโดยไม่ให้ปลาอิ่มเกินไปและไม่มีอาหารเหลือให้กลายเป็นของเสียในบ่อ

นอกจากนี้ยังควรเสริมวิตามินให้กับปลาด้วย ปกติแล้วคนเลี้ยงทั่วไปจะใช้วิตามินสังเคราะห์ แต่คุณต่อใช้วิตามินธรรมชาติ นั่นคือ มะขามเปียกนำมาคั้นน้ำแล้วไปคลุกเคล้ากับอาหารเม็ด อัตราการใช้มะขามเปียก 3 ขีดต่ออาหารเม็ด 1 กก. ซึ่งมะขามเปียกถือเป็นวิตามินธรรมชาติชั้นดีเลยทีเดียว

เลี้ยง 5 เดือน จับข ายได้ปลาขนาด 4-7 ตัว/กก.

คุณต่อบอกว่า การเลี้ยงปลากดในบ่อดินตามวิธีการที่บอกจะสามารถจับข ายได้หลังปล่อยลงเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน โดยจะได้ปลาขนาด 4-7 ตัว/กก. หรือน้ำหนักตัวประมาณ 150-300 กรัมซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดนิยมบริโภค พื้นที่ 1 บ่อ ขนาด 1 งาน จะได้ปลาประมาณ 500-700 กก. ราคาหน้าบ่อ 110-120 บาท/กก. เท่ากับ 1 บ่อ ขนาด 1 งาน จะมีรายได้โดยประมาณ 50,000-60,000 บาท

หากต้องการปลาขนาดใหญ่ขึ้นก็เลี้ยงนานขึ้น โดยระยะเวลาในการเลี้ยง 7 เดือน ก็จะได้ปลาขนาดน้ำหนักตัวระหว่าง 400-500 กรัม ปลากดเหลืองเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ไม่ค่อยมีโรค อัตราการรอดค่อนข้างสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราแลกเนื้อค่อนข้างสูงการเลี้ยงปลากดเหลือง ให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง การเลี้ยงในบ่อดิน

การเลี้ยงในบ่อดินควรปรับสภาพบ่อ โดยใช้หลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไปดังนี้

1 ตากพื้นบ่อให้แห้งพร้อมทั้งปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด

2 ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่

3 ใส่ปุ๋ยคอก เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ สำหรับลูกปลาควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตราประมาณ 40-80 กิโลกรัม/ไร่

4 นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ ระดับน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร วันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน

ควรเติมไรแดงในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ก่อนที่จะนำลูกปลามาเลี้ยง ควรตรวจดูด้วยว่าเป็นลูกปลาที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง

การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยง จะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่า ๆ กันก่อน โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาทีจึงปล่อยลูกปลา เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลา ควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเข้า

การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินขนาด 2 ไร่จำนวน 2 บ่อ ของเกษตรกรกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ในอัตราการปล่อยปลาขนาดความยาว 15.0-17.0 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 22-42 กรัม ตารางเมตรละ 1 ตัวหรือ ไร่ละ 1,600 ตัว โดยให้อาหารจำพวกปลาเป็ดสับผสมวิตามินและแร่ธาตุ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 7 เดือน จึงจับปลาจำหน่าย ได้น้ำหนักปลาทั้งสิ้น 2,125 กิโลกรัม เป็นผลผลิตไร่ละ 1,062.5 กิโลกรัม น้ำหนักตัวระหว่าง 400-500 กรัม (ประมาณ 2.40 ตัว/กิโลกรัม) ได้ปลา 5,110 ตัว อัตราการรอด 78.82 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ปริมาณอาหารทั้งหมด 9,562 กิโลกรัม มีอัตราแลกเนื้อ (FCR) เท่ากับ 1 : 45

ขอขอบคุณข้อมูล kasetkaoklai.com  เรียบเรียงโดย เพจเกษตรผสมผสาน

Facebook Comments Box