เผย19 ปีในไทย ลู กจ้ างชาวกะเหรี่ยงเก็บเงิ น 5 ล้านสร้างบ้านให้แม่

บทสัมภาษณ์พิเศษ นัน มาไว หรือ เคธี่ ชาวกะเหรี่ยง ที่มาทำง า นเป็นแม่บ้านและพนักง า นร้านชุดเจ้าสาว Bride Wholesale ย่านประตูน้ำ ถึงมุมมองและประสบการณ์กว่า 19 ปี ที่มาทำง า นในประเทศไทย

เคธี่ เล่าว่า เธอเป็นชาวเมืองพะอัน ประเทศเมียนมา เกิดในครอบครัวที่ยากจน ไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะมีพี่น้อง 10 คน ที่ต้องช่วยพ่อแม่ดูแล แต่ด้วยเศรษฐกิจในประเทศที่ไม่ดี ทำง า นหาเช้ายังไม่พอกินถึงค่ำ ต้องตื่นแต่เช้ามาเพื่อหุงหาอาหาร และเดินทางข้ามจังหวัดไปซื้อปลามาข า ยที่ตลาดเมืองพะอันจนถึงค่ำมืด

ครอบครัวของเธอนับถือศาสนาพุทธอย่างมั่นคง แม้ไม่มีเงิ นทำบุญก็ใช้แรงง า นทำบุญ ใช้เวลากลางคืนหลังเลิกง า นไปทำถนนวัด ฤดูเพาะปลู กข้าวก็จะไปช่วยเพื่อนบ้านทำนา ไม่ได้ค่าแรงเป็นเงิ น แต่จะต้องรอครึ่งปีเพื่อได้แบ่งข้าวมากิน จนอายุได้ 18-19 ปี

เธอก็ตั ดสินใจเดินทางเข้ามาทำง า นที่ประเทศไทย โดยการจ่ายเงิ นให้นายหน้าพาข้ามมาหาง า น แม้พ่อของเธอจะทักท้วง แต่เธอคิดว่าเศรษฐกิจพม่าไม่ดี ตัวเองไม่ได้เรียนหนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ก็ไม่มีง า นทำ จึงคิดว่ามาหาง า นที่ไทยน่าจะดีกว่า เพราะค่าเงิ นไทยใหญ่กว่าพม่า

“ตอนนั้นคิดว่าที่บ้านลำบากขนาดนี้ บางทีหาหนึ่งวัน กินหนึ่งวันยังไม่พอ ก็เลยอยากจะมาเมืองไทย มาช่วยพ่อแม่ ไปทำง า นที่อื่น ได้ยินเพื่อนบอกว่าถ้าไปเมืองไทยมันก็จะดีขึ้น มันจะมีง า นทำทุ กวันแล้วก็เงิ นไทยก็จะใหญ่กว่าพม่าอย่างนี้ค่ะ” นัน มาไว กล่าว

เดินเท้าข้ามเขา 8 วันมุ่งสู่ชีวิตที่ดีกว่า

เคธี่ เปิดเผยว่า ตอนนั้นเดินทางไปกับเพื่อนผู้หญิง 1 คน และที่เหลือเป็นผู้ชายหมด เดินเท้าข้ามเขาจากเมียวดีถึงนครสวรรค์ โดยแบกข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และหม้อข้าวไปหุงในป่า แต่เดินเท่าไรก็ไม่ถึงจุดหมาย เธอไม่อยากกินข้าว อยากเดินให้ถึงที่หมาย

และร้องไห้ทุ กคืนเพราะคิดถึงคนที่บ้าน และหวนคิดถึงคำพูดพ่อที่ห้ามไม่ให้มา แต่ก็สายเกินไป เธอทำได้แค่เดินไปเรื่อยๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน จนถึงนครสวรรค์ ต้องหลบอยู่ในไร่มันสำปะหลังหลายชั่วโมงเพื่อรอให้ค่ำ แล้วจึงขึ้นรถมากรุงเทพฯ

เธอเข้ามาทำง า นเป็นแม่บ้าน ไม่รู้ภาษาไทยเลย จำได้แค่ประโยคเดียวที่พ่อสอนไว้ว่า “พี่ๆ นี่อะไรคะ?” เอาไว้ถามและจำศัพท์ภาษาไทย เพราะพ่อเคยข้ามมาทำง า นที่ประเทศไทยมาก่อน เธอบอกว่าโชคดีที่คนไทยที่มาทำง า นแม่บ้านด้วยกันช่วยสอนง า น แต่ก็ต้องเจอกับเจ้านายที่ไม่ดี คือ ให้ทำง า นตลอดเวลาไม่มีเวลาพักผ่อน

เธอบอกว่าเจ้านายของเพื่อนบางคน ไม่ให้ทอดไข่กิน เพราะเปลืองแก๊ส แม้จะซื้อไข่มาเอง หรือบางคนก็ให้ทำง า นทุ กวันไม่มีวันหยุด แม้ว่าจะป่ ว ย ก็ไม่ให้หยุดพักรั กษ าตัว หรือเคยได้ยินเพื่อนเล่าว่าเจ้านายบอกว่ากลัวลู กน้องจะทำร้ายเขา กลัวลู กน้องจะขโมยเงิ น แต่เคธี่อยากบอกว่า

“ทุ กคนเขาก็อยากทำง า นดีๆ ให้เจ้านายชอบ ให้เจ้านายภูมิใจ ไม่ได้คิดว่าจะมาทำร้ ายจะมาขโ ม ย แค่อยากมาทำง า นที่เมืองไทย ได้เงิ นเดือน จะได้ส่งให้พ่อแม่ พ่อแม่จะได้สบาย แค่นั้น” เธอกล่าว

เคธี่ กล่าวย้ำด้วยว่า คนกะเหรี่ยง คนพม่า เวลาเข้ามาทำง า นที่ไทย เขาก็อยากให้เจอเจ้านายดีๆ พอเจอเจ้านายดีๆ มีง า นเยอะแค่ไหนก็ได้ อะไรก็ได้ ไม่เกี่ยง จะได้ทำง า นมีความสุข

หลายครั้งที่เธอถูกล้อว่าพูดไม่ชัด ไม่ได้เรียนหนังสือ หรือมีคนมาถามว่าเป็นพม่าใช่ไหม เธอก็ตอบไปตรงๆ ว่าเป็นกะเหรี่ยง ยังพูดไม่ค่อยเก่ง ถ้ามีอะไรที่พูดผิด หรือว่าพูดไม่ถูกก็บอกด้วย จะได้ปรับปรุง และเธอก็จะตั้งใจทำง า น โดยหวังว่าให้ลู กค้ามีความสุข โดยเฉพาะเมื่อมาทำง า นร้านชุดเจ้าสาว

แม้เขาจะล้อเรา แต่พอเขาพอใจในการบริการ ใส่ชุดแล้วมีความสุข เราก็มีความสุข แล้วเขาก็จะมองข้ามสำเนียงเราไปเอง เธอบอกว่าแม้เธอจะไม่ได้เรียนหนังสือ แต่เธอก็ทำง า นได้ เลี้ยงพ่อแม่ได้

เจ้านายดี ชีวิตเปลี่ยน เก็บเงิ นสร้างบ้านให้แม่

เคธี่ ยอมรับว่า การได้เจ้านายที่ดีเหมือนถูกห ว ย ชีวิตเปลี่ยน เขาพาไปเปิดบัญชี พาไปเที่ยว พาไปกิน สอนการใช้ชีวิต มีเงิ นเก็บส่งให้ที่บ้านมากขึ้น จนสามารถซื้อที่ดินและปลู กบ้านให้แม่ได้ราคาประมาณ 5 ล้านบาท

เธอเล่าว่าเมื่อก่อน อยู่บ้านที่ทำจากไม้ไผ่และหลังคามุงใบไม้ ถึงเวลา 2 ปีก็ต้องย้ายไปปลู กบ้านใหม่เรื่อยๆ แต่ทุ กวันนี้ไม่ต้องไปอาศัยที่ดินของคนอื่นอยู่เหมือนเมื่อก่อน มีบ้านของตัวเองที่ใหญ่พอสำหรับทุ กคนในครอบครัว

แถมมีเงิ นไปทำบุญ หรือช่วยง า นเพื่อนบ้าน ไม่ต้องเอาแรงไปช่วยทำถนนเอาบุญเหมือนเมื่อก่อน อีกทั้งเวลาเพื่อนบ้านขัดสน เอาที่ดินมาข า ย เธอก็ช่วยรับซื้อไว้

เธอเล่าว่าตลอดเวลา 19 ปีที่ อยู่ในประเทศไทย เธอเรียนรู้ภาษาไทยและรักที่จะทำง า นอยู่ในประเทศไทย ในทางกลับกัน เจ้านายเองก็รักและไว้ใจเธอมาก เพราะเขาเห็นเธอเป็นเหมือนคนในครอบครัว ให้เธอดูแลกิจการร้านชุดเจ้าสาว บางครั้งที่เจ้านายไปต่างประเทศเป็นเดือนๆ

ก็มอบหมายให้เธอดูแลเงิ นทองในร้านเป็นหลั กแสนหลั กล้ านก็มี ซึ่งเธอก็ทำหน้าที่อย่างดี เธอเรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วทุ กคนเหมือนกัน ต่างกันแค่หน้าที่ ถ้าเราทำหน้าที่ของเราให้ดี ให้เต็มที่ก็จะได้รับความไว้วางใจ และเจริญในหน้าที่การง า น

“พี่เคคิดว่าคนทุ กๆ คน มันก็เหมือนๆ กัน ต่างกันแค่หน้าที่ เจ้านายก็คือเจ้านาย ลู กน้องก็คือลู กน้อง แต่ว่ามันแตกต่างกันแค่หน้าที่อย่างเดียวที่ไม่เหมือนกัน” นัน มาไว กล่าว

แอดมินเพจเกษตรผสมผสานฝากคำคมไว้เช่นเคยนะคะ ปริมาณของ “ความสุข” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของ “สิ่งดี ๆ” ที่เราได้รับ แต่อยู่ที่ “มุมมอง” ของเราที่มีต่อ “สิ่งเหล่านั้น” ต่างหาก

ขอขอบคุณที่มา ทีมข่าว Sanook  เรียบเรียงโดย เพจเกษตรผสมผสาน

Facebook Comments Box