หลังจากที่ทำนา แล้วเราก็จะเห็นตามท้องนานั้นกลายเป็นฟางข้าวที่เหลือทิ้งไว้ซึ่งบอกแล้วว่าฟางข้าว ที่คนมาจะทิ้งกันนั้นกลับมานำสร้างประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย
เช่นนำมาทำปุ๋ยหมักปลูกเห็ดฟางหรือคลุมดินสำหรับการปลูกผักเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นก็ได้อีกครั้งต่อสั่งข้าวที่เราอบไก่นั้นก็สามารถมีประโยชน์ได้อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
ซึ่งแน่นอนว่าจะมีชาวนา หลายคนมักจะมองข้ามฟางข้าวและเผามันทิ้ง ซึ่งออกเลยว่าการเผาฟางข้าวนะจะทำให้เกิดการเสื่อมของหน้าดินโครงสร้างดินปิ่นไปดินจับตัวแน่นแข็ง
และส่วนเศษอินทรีย์วัตถุในดินจุลินทรีย์ไส้เดือนและแมลงที่มีประโยชน์ตายอีกทั้งยังทำให้สูญเสียปุ๋ยส่วนอย่างดีที่ ของฟางและตอซัง

บอกเลยว่าทั้งสองอย่างนี้ถือว่าเป็นปุ๋ยชั้นดีให้กับพืชทุกชนิดยังอาจทำให้ชาวเกษตรกรประหยัดก็ได้ซึ่งแน่นอนว่าใครหลายคนนั้นก็มาจะไม่รู้
ฉะนั้นชาวเกษตรกรทั้งหลายก็ลองมาคิดดูสิว่าฟางข้าวที่เหลือจากการสีข้าวนั้นเราจะมาทำอะไรได้บ้าง
1.หลังสีข้าวเสร็จก็เอารถไปขนมาไว้ในที่ต้องการ
2.ขนข้าวใส่รถ แล้วนำมาสีด้วยรถสี ให้ฟางตกในบริเวณที่เราต้องการ
3.ใช้เครื่องอัดฟางก้อนไปเลย วิธีนี้อาจมีค่าใช้จ่ายในการอัดต่อก้อน แต่ข้อดี คือสะดวกในการขนย้ายและประหยัดพื้นที่ในการเก็บรักษา
ซึ่งสรุปเลยว่าถ้าหากจะทำเกษตรควรหาฟางข้าวมาเก็บไว้บ้างบอกเลยว่ามีประโยชน์อย่างหลากหลาย แต่พอจะใช้แล้วไม่ได้เก็บบอกเลยว่าจะรู้สึกเสียดายเป็นอย่างมาก
ยิ่งตอนเข้าช่วงหน้าแล้งฟังก็จะหายากมากยิ่งขึ้นเพราะว่าการปลูกพืชนั้นจะต้องการฟางมาคลุมดิน ซึ่งถ้าหากใครได้เห็นฟางข้าวแล้วก็ลองเกี่ยวกับดูเลยบอกเลยว่ามันมีประโยชน์จริงๆ

คุณค่ามหาศาลของฟางข้าว วัสดุธรรมชาติที่มีประโยชน์มหาศาลที่เพื่อนๆ เกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักเป็นอย่างดีนั่นก็คือฟางข้าว เราใช้ประโยชน์จากฟางข้าวหลายวิธี
มาดูกันว่าประโยชน์ของฟางข้าวมีอะไรบ้าง ช่วยปรับโครงสร้างของดิน ที่เป็นกรดหรือเป็นด่าง ให้เกิดความสมดุล สร้างดินให้มีชีวิต ช่วยประหยัดน้ำในการรดต้นพืชรักษาความชื้นให้แก่ดิน
ฟางข้าวจะช่วยควบคุมพืชที่เป็นวัชพืชในนาข้าวไม่ให้งอกเจริญเติบโต โดยฟางที่คลุมผืนนาจะบดบังแสงแดดไม่ให้ส่องถึงและยังจะช่วยรักษาความชื้นของดินในนาให้อยู่ได้นาน
ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวมีน้ำเพียงพอแม้จะมีสภาวะแห้งแล้งติดต่อกันก็ตาม ต้นข้าวก็สามารถเจริญงอกงามให้ผลผลิตสูงกว่าการเปิดดินโดยปราศจากฟางข้าวคลุมดิน
ความชื้นในสภาพคลุมฟางในนาข้าวหลังเก็บเกี่ยวมีเพียงพอที่จะปลูกพืชตระกูลถั่วอายุสั้น โดยเฉพาะถั่วเขียว ซึ่งมีอายุ 60 วัน หรือพืชหมุนเวียนอื่นๆ
ที่จะช่วยในเรื่องการลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้ โดยปลูกหลังจากที่ได้ไถฟางกลบลงไปในดินแล้ว การปลูกพืชตระกูลถั่วหลังการทำนายังใช้น้ำน้อยและเพิ่มไนโตรเจน โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่ปมรากถั่วจะตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน
ฟางข้าวช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินนาเป็นแหล่งของธาตุอาหารพืช ฟางอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน และธาตุอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
ฟางข้าวช่วยทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินนามีมากขึ้น ดินมีความชื้นพอเหมาะ การย่อยสลายจะเร็ว และไม่เกิดสารพิษ จุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในนา

ไม่ว่าจะเป็นฟางข้าวหรือวัชพืชให้เน่าเปื่อยกลายเป็นปุ๋ยคลุกเคล้าลงไปในดิน เป็นแหล่งอาหารและพลังงานให้จุลินทรีย์ตรึงธาตุไนโตรเจนมาเป็นปุ๋ยและให้ธาตุอาหารให้แก่ข้าว สร้างความเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงขึ้น
ฟางช่วยปรับโครงสร้างของดิน ที่เป็นกรดหรือเป็นด่างให้เกิดความสมดุลในตัวมันเอง ดินที่เป็นกรด (Acid Soils) หมายถึงดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า 0 ดินที่เป็นด่าง (Alkaline Soils)
หมายถึงดินที่มีค่า pH สูงกว่า 7.0 ไม่ว่าดินจะเป็นกรดหรือเป็นด่าง ถ้าหากท่านเอาฟางไปคลุมดินไว้ สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเองทันที
ช่วยรักษาหน้าดินตามธรรมชาติของดิน ถ้าหากไม่มีอะไรปกคลุมหรือกั้นเอาไว้ หน้าของดินจะเสื่อมสลายและสูญเสียไปกับการชะล้างพังทลายจากน้ำ แสงแดด และลม
คุณค่ามหาศาลของฟางข้าว ใช้ฟางข้าวคลุมแปลงเกษตรสร้างระบบนิเวศ ถ้าหากเราทำกสิกรรมที่ใช้ฟางเป็นหลัก จะทำให้ประหยัดน้ำมากขึ้น ช่วยให้เกิดวัฏจักรชีวิตของสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อดิน
ตามธรรมชาติดินที่ว่างเปล่าหรือดินโล้น จะเป็นดินป่วย ดินดาน ดังนั้น ถ้าหากเราปลูกพืชลงไปพืชผักจะอ่อนแอ ไม่เจริญเติบโต ศัตรูของพืชก็จะมาทำลาย แต่ดินที่คลุมด้วยฟาง
จะเป็นดินที่ร่วนซุยเพราะไส้เดือน จุลินทรีย์และสัตว์ต่างๆ ช่วยกันพรวนดิน ดินที่คลุมด้วยฟางก็จะเป็นอาณาจักรของสัตว์ต่างๆ เพราะระบบนิเวศวิทยาอุดมสมบูรณ์
เช่น คางคก แย้ จิ้งเหลน แมงมุม ฯลฯ การระบาดของแมลงศัตรูพืชก็จะค่อยๆ หายไปโดยที่เราไม่ต้องไปใช้สารขับไล่แมลง

รู้เช่นนี้แล้ว เพื่อนๆ หยุดคิดเผาฟางข้าวในนากันเถอะนะคะ และหันมาใช้ประโยชน์ของฟางข้าวให้สุดติ่งกระดิ่งแมว กันเต็มที่กันดีกว่า
ขอบคุณที่มา : งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ www.ku.ac.th