แอร์แว มาจากคำว่า Air ที่แปลว่าอากาศ ส่วนคำว่าแวนั้น เป็นภาษาอีสานคือคำว่า แวะ นั่นเองค่ะ หรือจะเรียกเป็นศัพท์ ทางการคือ Air Pressure Accumulators
เป็นนวัตกรรมใหม่ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้การสูบน้ำไปได้ไกลและเร็วยิ่งขึ้น การเพิ่มแรงดันน้ำด้วยระบบแอร์แว ด้วยการอาศัยแรงดันอากาศจากท่อพีวีซีต่อระหว่างท่อส่งน้ำ
เพื่อดันน้ำเข้าไปในท่อนั้นสามารถทำให้เครื่องสูบทำงานน้อยลง แต่ได้ปริมาณน้ำมากขึ้นด้วย เทคโนโลยีภูมิปัญญาชาวบ้านนี้ จึงนำไปเผยแพร่ไปยังเกษตรทั่วปร ะเทศ

หลักการทำงานของแอร์แวหรือแอร์แวะ
หลักการทำงานของแอร์แวนั้น คล้ายกันกับระบบ Booster Pump ภายในอาคารใหญ่ๆที่ใช้แรงดันอากาศในการควบคุมแรงดัน และความเร็วของน้ำให้สม่ำเสมอ
นำมาประยุกต์ใช้ในการสูบน้ำ เมื่อน้ำถูกสูบขึ้นมาผ่านวาล์วน้ำจะทำให้เกิดฟองอากาศขึ้น ก็จะดักอากาศที่มากับน้ำแวะเก็บอากาศไว้ในท่อน้ำปิด ทำให้มวลน้ำขาออกมีปริมาณต่อหน่วยเวลามากขึ้น
ขณะเดียวกันเมื่อความดันจากเครื่องสูบน้ำไม่คงที่ ช่วงที่แรงดันสูงแรงดันที่สูงนี้จะดันอากาศในท่อหดตัว เมื่อแรงดันจากเครื่องสูบน้ำต่ำ อากาศในท่อขยายตัวดันน้ำขาออก ช่วยดันให้ไปได้ไกลขึ้น และช่วยรักษาแรงดันน้ำปลายทางให้คงที่
ข้อดีของแอร์แวหรือแอร์แวะ
ใช้ระยะเวลาในการสูบน้ำน้อยลง ทำให้ประหยัดพลังงานในการสูบน้ำ และชะลอการสึกหรอของเครื่องยนต์ แต่สามารถส่งน้ำไปในระยะไกลได้ หรือแม้แต่ในที่สูงก็ตาม

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.ตัวท่อแอร์แว ก็ทำมาจาก ท่อ PVC ที่มีขนาด 2 เท่า ของท่อเมนหลักของเรา ยกตัวอย่างเช่น ปั๊มน้ำของเรา มีท่อส่งอยู่ที่ 2นิ้ว ท่อแอร์แว ก็จะเป็น 4 นิ้ว
2.ฝาครอบท่อ PVC ขนาด 4 นิ้ว
3.ข้อต่อลดขนาดท่อ 4 นิ้ว ลดเหลือ 2 นิ้ว
4.ท่อสามทาง PVC ขนาด 2 นิ้ว ( เท่ากับท่อดูดของปั๊มน้ำของเรา )
วิธีการติดตั้ง
1.วัดท่อส่งน้ำหลักหรือท่อเมน จากปั๊มน้ำออกมาระยะห่าง 1 เมตร แล้วตัดท่อส่งน้ำหลัก
2.ทากาวแล้วต่อสามทางตัวแรกเข้ากับท่อต่อน้ำหลัก โดยให้ด้านที่ต่อกับท่อชี้ขึ้นด้านบนทำมุม 90 องศากับแนวระดับ
3.ตัดท่อส่งน้ำหลัก ห่างจากจุดแรกมา 30 เมตร แล้วทากาว ต่อสามทางตัวที่สองในลักษณะเดียวกันกับตัวแรก
4.ทากาวแล้วต่อข้อตรงขนาดเท่ากับท่อ ลดขนาดเท่ากับท่อส่งน้ำหลัก เข้ากับสามทาง ทางด้านที่ชี้ขึ้น 2 จุด
5.ทากาวแล้วต่อท่อ ตรงข้อต่อตรงทั้งสองจุด
6.ทากาวและปืดฝาท่อให้แน่น อย่าให้มีรอยรั่ว
7.ทิ้งไว้หนึ่งวันให้กาวแห้งสนิท แล้วค่อยใช้งาน

ง่ายๆแค่นี้ แถมยังประหยัดเงิน และพลังงานไฟฟ้าในการสูบน้ำ แถมน้ำยังไหลแรงสม่ำเสมอ แม้ระยะทางจะไกลแค่ไหน จัดได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ได้เลยค่ะ