ยุคเศรษฐกิจไม่ดีบริษัทต่าง ๆ ก็ต่างกันพากันยุบแผนกที่คิดว่าไม่จำเป็นลง คนเหล่านั้นก็ต่างพากันต ก ง านไปตาม ๆ กัน เพื่อลดจำนวนพนักงานคือวิธีการลดต้นทุนที่ไม่มีใครอยากเห็น
แต่เมื่อถึงคราวจำเป็นก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากคนตกงาน หันมาเช่าที่ 100 ตรว. “ไม่น่าเชื่อว่าทำเกษตร” จะทำให้มีร ายได้วันละ 3,000 บ าท แต่อย่าลืมนะ ว่าชีวิตก็ต้องดิ้นรนกันต่อไปถ้าหากยังมีลมหายใจ
วันนี้จะพามาดูเรื่องราวดี ๆ ของผู้หญิงคนนี้ คุณเอีย – อารีย์ เพ็งสุทธิ์วัย 46 ปีคือหนึ่งใน“มนุษย์ออฟฟิศ” แห่งยุคที่มีอันต้องถูกเลิกจ้างจากตำแหน่ง

ผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกคอร์ปอเรตมาร์เก็ตติ้งของบริษัทประกันในเครือธนาคารใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งช่วงเวลานั้นเธอมีรายรับเป็นเงินเดือนประจำถึง หลักแสนบาท เลยทีเดียว
เมื่อราวต้นปี 2558 ที่ผ่านมา คุณเอีย-อารีย์ เพ็งสุทธิ์ วัย 46 ปี คือหนึ่งใน “มนุษย์ออฟฟิศ” แห่งยุคที่มีอันต้องถูกเลิกจ้างจากตำแหน่งผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกคอร์ปอเรต มาร์เก็ตติ้ง ของบริษัทประกันในเครือธนาคารใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งช่วงเวลานั้นเธอมีรายรับเป็นเงินเดือนประจำถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว
แรก ๆ ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอาชีพอิสระในแบบของตัวเองอย่างไรดีแต่ด้วยความที่มีฝีมือทำอาหารเลยตั้งใจจะทำ “แกงถุง” ไปฝากข ายตามออฟฟิศพรรคพวกที่เคยร่วมงาน และจากนั้นมีเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่ง
ซึ่งชื่นชอบการทำเกษตรเป็นชีวิตจิตใจมาแนะนำให้ทำฟาร์มเห็ด “ตอนแรกอยากทำผักไฮโดร ฯ เพราะเคยทำงานด้านมาร์เก็ตติ้งมาก่อนรู้จักคนในแวดวงโรงแรมร้านอาหารเยอะ
ถ้าปลูกแล้วทำส่งให้เขาน่าจะได้ประกอบกับเคยไปฟาร์มผักไฮโดรฯเห็นแล้วสวยดีเลยอยากทำบ้างแต่พอศึกษาละเอียดรู้ว่าต้องใช้เงินลงทุนสูงพอสมควร”

เมื่อโปรเจ็กต์ผักไฮโดรโปนิกส์ยังไม่ผ่าน คุณเอียจึงทำตามคำแนะนำของเพื่อนรุ่นน้องคนดังว่า หันมาศึกษาวิชาการเพาะเห็ดข าย ตระเวนไปหาความรู้เกี่ยวกับเห็ดทุกรูปแบบ นับแต่ การลงก้อน การรักษาก้อน การปล่อยน้ำ การเก็บ เป็นต้น
“ไม่เคยจับงานด้านเกษตรเลย แม้พื้นเพเป็นคนนครศรีธรรมราช พ่อ-แม่ทำนามาก่อน แต่ท่านให้แต่เรียนหนังสือ โตขึ้นมาหน่อยส่งเข้ากรุงเทพฯ เรียนจบ ทำงานเป็นสาวออฟฟิศมาตลอด ไม่เคยรู้ว่าการเป็นเกษตรกรเริ่มต้นยังไง แต่เมื่ออยากทำ ก็ต้องเรียนรู้จากศูนย์” คุณเอีย เล่ายิ้มๆ
ใช้เวลาไม่นาน จึงมี “วิชาเห็ด” ติดตัว ขั้นต่อไปคือ หาเช่าที่ดินเพื่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด เพราะบ้านที่อาศัยในรามอินทราของเธอและลูกๆ นั้น เป็นทาวน์โฮมตามสมัยนิยม ซึ่งมีพื้นที่ไม่มากนักแต่จนแล้วจนรอด หาเท่าไหร่หาไม่ได้ ส่วนที่พอจะได้ ก็ราคาแพงจนรับไม่ไหว
“ขับรถตระเวนหาเช่าที่ไปทั่วจนท้อ จำได้วันนั้นจะถอดใจ คิดว่าคงไม่ได้ทำแล้ว แต่ระหว่างทางก่อนถึงบ้านแค่ซอยเดียว เหลือบไปเห็นป้ายประกาศให้เช่าที่ 2 แปลง แปลงละ 100 ตารางวา กับ 200 ตารางวา เลยรีบโทรศัพท์ไปถาม พอทราบเงื่อนไข-ราคา รีบบอกตกลงเดี๋ยวนั้นเลย” คุณเอีย เล่าก่อนหัวเราะร่วน
เจ้าของเรื่องราว เล่าให้ฟังต่อ ที่ดิน 100 ตารางวา ที่อยู่ในซอยคู้บอน 27 แยก 8 ซึ่งเธอทำสัญญาเช่าเป็นเวลา 2 ปีกับเจ้าของที่ดินนั้น ใช้เงินมัดจำ 10,000 บาท ค่าเช่าต่อเดือน 3,000 บาท หากครบเวลาตามสัญญาแรกแล้ว อาจทำสัญญาใหม่เป็นแบบปีต่อปี
“ตอนปรับหน้าดิน นำขี้วัวมาลงด้วย พอแตงกวา ถั่วฝักยาว เริ่มออก จะมีพวกรา เพลี้ย หนอน มารบกวน วิธีการกำจัดดีที่สุดคือ มือของเรานี่แหละ รูดบ้าง บี้บ้าง ให้มันตาย

นี่คือภารกิจทุกๆ เช้าที่ผ่านมา แต่พอเริ่มโตไม่ต้องทำแล้ว รดน้ำตามปกติพอ” คุณเอีย เผยเทคนิคที่ได้รับถ่ายทอดมาจากคุณตา ผู้ช่วยคนสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ทั้งเห็ดและพืชผักสวนครัวดังว่า ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งถึงจะสามารถเก็บดอกผลออกจำหน่าย รายได้จึงอาจขาดช่วง คุณเอียจึงแก้ปัญหาด้วยการปลูก “ต้นอ่อน” ของพืช พวก ผักบุ้ง ทานตะวัน และโตเหมี่ยว เพราะพืชกลุ่มนี้ ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน สามารถเก็บข ายได้แล้ว
ส่วนความรู้เรื่องการเพาะต้นอ่อนนี้ อาศัยจากการอ่านหนังสือและค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต หาว่า ทำกันยังไง ใช้ดินแบบไหน หาซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ใดได้บ้าง ช่วงลองผิดลองถูกเสียหายไปสองสามถาด แต่พยายามปรับปรุง จนตัดออกข ายได้หลายชุดแล้ว
ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน ถึงวันนี้ “เฮย์เดย์ ฟาร์ม” แปลงผักในเมือง ภายใต้การดูแลของคุณเอีย ให้ผลผลิตออกมาแล้วหลากหลาย นับตั้งแต่ เห็ดนางฟ้าภูฏาน ต้นอ่อนผักบุ้ง-ทานตะวัน-โตเหมี่ยว แตงกวา แตงร้าน ถั่วฝักยาว ดอกดาวเรือง ฯลฯ สามารถสร้างรายได้ให้เป็นระยะ
“ทุกวันศุกร์ผักจะเต็มท้ายรถและห้องโดยสารเลยนะ ช่วงแรกพวกเพื่อนๆ ออฟฟิศที่รู้จัก เขาคงอยากช่วย เลยสั่งซื้อ แต่ระยะหลังยังสั่งกันตลอด
แสดงว่าผลผลิตเราข ายได้ด้วยตัวเองแล้ว และคงสะดวกดี มีบริการส่งให้ถึงที่ ของก็มีคุณภาพ” คุณเอีย บอกอย่างนั้น
ธุรกิจ “เฮย์เดย์ฟาร์ม” ของอดีตผู้บริหารบริษัทประกันชีวิตท่านนี้ใช้เงินลงทุนประมาณ 100,000 บาท และกำลังสร้างรายได้กลับเข้ามาเรื่อยๆทำให้เจ้าของมีกำลังใจและกำลังจะขยายโรงเพาะเห็ดเพิ่มเป็นโรงที่ 3 แล้วด้วย

“ไม่อายเลยที่ทุกวันนี้ต้องมาปลูกเห็ด-ปลูกผักเพราะมีรายรับเลี้ยงตัวเลี้ยงลูกได้สบายแต่แอบห่วงความรู้สึกของแม่และลูกชายทั้ง2คนเหมือนกันว่าพวกเขาจะรู้สึกยังไง”คุณเอียเผยความในใจส่งท้าย
ก่อนฝากไปยัง “มนุษย์เงินเดือน” ที่อาจกำลังต้องเผชิญสถานการณ์เดียวกันกับเธอว่า “ต้องมีสติอยู่กับตัวตลอดเวลาอะไรผ่านมาแล้วให้ผ่านไปและเชื่อมั่นว่าต้องอยู่ให้ได้”