Wednesday, 29 November 2023

เทคนิคการวางระบบน้ำหยดให้กับพืช ประหยัดน้ำ ไม่ต้องลากสาย

การติดตั้งระบบน้ำหยดนั้นไม่ย าก เพียงศึกษาพอเข้าใจแล้วหาอุปกรณ์มาลองต่อดู แค่นี้เราก็สามารถติดตั้งได้เองแล้ว สำหรับเหตุผลของการเลือกให้น้ำแก่พืชด้วยระบบน้ำหยดก็คือ

1ประหยัดน้ำมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการให้น้ำด้วยวิธีอื่น

2ประหยัดเวลา ใช้เวลาไม่นานในการให้น้ำแต่ละครั้ง 10,20,30 นาที หรือนานกว่านี้ตามความต้องการน้ำของพืชนั้นๆ

3ประหยัดแรงงาน ไม่ต้องลากสายย างรดน้ำให้พืชแต่ละต้นเหมือนเมื่อก่อน

4ประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมันหรือค่าไฟฟัาในการป้ัมน้ำแต่ละครั้งเนื่องจากใช้เวลาในการให้น้ำสั้นกว่า

5ลดวัชพืชในแปลงปลูก เพราะน้ำจะไม่กระจายตัวทั่วทั้งแปลงแต่จะหยดเฉพาะจุดที่รากพืชโดยตรง

6ค่าติดตั้งถูก ทำเองได้

ระบบน้ำหยด

ในสวนเราทดลองใช้ระบบน้ำหยดกับต้นขจรและต้นข่า โดยเริ่มแรกเราสร้างถังเก็บน้ำใกล้ๆ แปลงปลูกก่อน เพื่อ สะดวกในการให้น้ำเพราะแหล่งน้ำของเราอยู่ไกลมาก สำหรับใครที่ต้องการต่อระบบน้ำหยดกับปั้มน้ำซึ่งดูดจากสระน้ำโดยตรงเลยก็ได้

สำหรับขนาดวงบ่อซีเมนต์ เราใช้ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. สูง 40 ซม. จำนวน 4 วง ต่อหนึ่งถัง ทำสองถังคู่ คิดว่าจำนวนน้ำพอเพียงต่อพืชทั้งสองแปลงของเรา

ระบบเติมปุ๋ยแบบ ventury

หลังจากนั้นต่อเข้ากับระบบเติมปุ๋ยแบบ ventury อันนี้สะดวกมากถ้าต้องการเติมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ไปพร้อมกับการให้น้ำหยด สำหรับระบบเติมปุ๋ยนี้จะติดตั้งร่วมกับระบบน้ำหยดหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้มันหรือเปล่า สำหรับเราตัองการทดสอบดูว่าระบบเติมปุ๋ยนี้ใช้ได้จริงหรือไม่ ส่วนการประกอบก็ไม่ยากเพราะทางร้านจะจัดอุปกรณ์ครบชุดไว้อยู่แล้ว พร้อมรูปภาพอธิบายการประกอบ

อย่าลืมติดตั้งเครื่องกรองเกษตรเป็นอันขาด อันนี้สำคัญมาก เครื่องกรองนี้จะกรองตะกอนที่มากับน้ำออกไปทำให้หัวน้ำหยดของเราปลอดภัยจากการอุดตัน

สำหรับหัวกรองเกษตรมี 2 แบบคือ แบบแผ่นดิสต์และแบบตะแกรง เราเลือกใช้แบบตะแกรงเพราะคิดว่าน่าจะดูแลรักษาง่ายกว่า หัวกรองเกษตรนี้ ก็มีหลายขนาดจะต้องใช้ขนาดไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของท่อ PVC ที่ต่อกับหัวกรองนี้ จะต้องสมดุลกัน

จากภาพที่เห็นเราใช้ท่อ PVC ขนาด 1” ดังนั้นตัวกรองเกษตรก็ใช้ขนาด 1” เช่นกัน

อุปกรณ์ติดตั้งหัวน้ำหยด มีดังนี้

1 หัวน้ำหยด ในรูปเป็นแบบปรับหยดเอง อันนี้ต้องคำนวณเองว่าตัองเปิดกี่หยด/ นาทีจึงจะได้น้ำตามจำนวนที่ต้องการของพืชในแต่ละครั้ง เช่น ถ้าเราต้องการให้น้ำจำนวน 2 ลิตรต่อต้น ภายในเวลา 20 นาที ก็ต้องปรับให้ได้น้ำประมาณ 100 ซีซี ต่อนาที น้ำจะไหลเร็วเป็นสายต่อเนื่อง ไม่เป็นหยด (ลองจับเวลาดูจากหัวน้ำหยด : น้ำ 15 หยด 1 ซีซี )

2สายไมโคร ข้อต่อ ตัวเจาะรู ขาเสียบหัวน้ำหยด

3ท่อ PE ที่ต่อกับหัวน้ำหยดโดยตรง (ใช้กับแปลงข่า )หรือต่อกับสายไมโครก่อนแล้วต่อกับหัวน้ำหยดอีกที( ใช้กับแปลงต้นขจร ) ขนาด 1/2 ”

4ท่อ PE ขนาด 3/4 ” ทำเป็นท่อประธานส่งน้ำมาที่แขนง ท่อ PE 1/2 ”

จากการทดลองใช้น้ำหยดนี้ พบว่าแรงดันน้ำจากถังปูนซีเมนต์ 1 ถังสามารถให้น้ำแปลงต้นขจรได้ทั่วทั้งแปลง น้ำไหลสม่ำเสมอทุกจุดแต่ไม่สามารถให้น้ำพร้อมกับต้นข่าได้ เพราะแรงดันน้ำไม่พอ เราจึงเพิ่มปั้มน้ำตัวเล็กอีก 1 ตัวเพื่อช่วยส่งน้ำไปยังแปลงปลูกทั้งสองแปลงพร้อมๆ กันรวมทั้งเติมปุ๋ยในระบบ ventury ที่ติดตั้งไว้ด้วยเลย

แหล่งที่มา baansunkoo-organic.over-blog.com

Facebook Comments Box