หลายครั้งที่เกษตรกรเราตั้งหน้าตั้งตารอผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยว หลายครั้งที่ผลผลิตที่ออกแต่ละครั้งคือชีวิตและอนาคตของครอบครัว แต่ปัญหาที่เกษตรส่วนใหญ่พบนั้นก็คือเมื่อปลูกจนติดดอกติดผลกลับกลายเป็นว่าดอกผลหลุดร่วงไปซะอย่างนั้น สาเหตุก็มีได้ทั้งการหลุดร่วงโดยธรรมชาติ เกิดจากลมพายุพัดหรือฝนตกชะล้างดอกผล

มีวิธีการทางธรรมชาติที่จะช่วงลดการหลุดร่วงของดอกและผลโดยใช้วิธีการทางธรรมชาติ นั้นก็คือการใช้ปลีกล้วยที่เราตัดออกจากต้นกล้วยหลังจากกล้วยออกหวีสุดท้ายแล้ว เครือนึงน่าจะมีซัก 40 ผลขึ้นไปและสังเกตว่าผลกล้วยที่ออกมานั้นลูกจะชี้ขึ้นฟ้า เมื่อกล้วยได้ระยะเวลาที่พอตัด ผลของกล้วยจะมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับขั้วผลที่มีขนาดเล็ก เพราะะเครือกล้วยจะมียางที่ค่อนข้างเหนียวประกอบกับปลีกล้วยก็มียางเหนียวนี้อยู่อย่างมากมาย

ซึ่งแน่นอนว่าการสร้างผลผลิตออกมานั้นการทำเกษตรจะต้องรอดอกและผลออกของมันออกมาแต่ละครั้งปัญหาที่ชาวเกษตรกรนั้นมักจะพบก็คือเมื่อปลูกจนติดดอกติดผลแล้วกลับกลายเป็นว่าดอกและผลเหล่านั้นกับร่วงโรยลงไปซะอย่างนั้นจึงทำให้ไม่สามารถสร้างผลผลิตได้อย่างท่วงทันหรือจำนวนมากได้

สาเหตุนี้เราจึงนำปลีกล้วยมาหมักเพื่อนำประโยชน์จากยางที่มีลักษณะเหนียวมาทำจุลินทรีย์ขั้วเหนียว แล้วนำมาฉีดพ่นพืชผักผลไม้เพื่อลดการหลุดร่วงของดอกและผลนั่นเอง

สูตรจุลินทรีย์ขั้วเหนียวนี้เป็นของท่านอาจารย์อธิศพัฒน์ วรรณสุทธิ์ ที่ท่านได้ศึกษาประโยชน์ต่าง ๆ ของต้นกล้วย และได้นำความรู้มาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรไทยได้ทราบตามปณิธารที่ท่านได้ตั้งไว้

โดยสูตรนี้สามารถใช้ได้กับพืชผักผลไม้ได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น พริก มะเขือ มะนาว มะละกอ แตงกวา มะม่วง ทะเรียน มังคุด ละมุด ลำไย ลองกอง เป็นต้น เรียกได้ว่าใช้ครอบคลุมกับพืชได้ทุกชนิดเลยก็ว่าได้
วัสดุอุปกรณ์ที่จะต้อง
ปลีกล้วย 3 กก.
น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
น้ำเปล่า 5 ลิตร
ถังมีฝาปิดสำหรับหมัก
ขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการสับมีกล้วยให้ละเอียดและเทลงไปในถัง
ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นก็เอาน้ำตาลและน้ำเปล่ามาละลายเข้าด้วยทางและเทลงไปในถังตามไป
ขั้นตอนที่ 3 การหมักทิ้งไว้เป็นจำนวนเวลา 3 อาทิตย์ ในอาทิตย์แรกคนทุกวันจะนั้นก็หมักให้ครบอีก 3 อาทิตย์
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อครบแล้วก็ให้ทำการกองเอาเหลือแต่กากใช้ในส่วนน้ำที่เหลือเอาไว้

วิธีการใช้
ผสมจุลินทรีย์หัวปลี 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นในช่วงที่ไม้ผลเริ่มติดดอกเมื่อลดอัตราการหลุดร่วง โดยสามารถใช้ได้ 5-7 วัน/ครั้ง
สามารถใช้ร่วมกับอาหารจานด่วนสำหรับพืชได้
พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ จึงเจริญเติบโตได้อย่างอุดมสมบูรณ์ และให้ผลผลิตที่ดี ดินในป่าจึงเป็นตัวอย่างอย่างดีสำหรับเกษตรกรแนวอินทรีย์ ที่จะเรียนแบบตามธรรมชาติ โดยใช้จุลินทรีย์ที่หลากหลายและมีเป็นจำนวนมาก มาช่วยในการเร่งพื้นฟูและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแปลงเกษตรกรเอง
ที่มา : หนังสือเกษตรอินทรีย์ภาคปฏิบัติ เล่ม 4 อาจารย์อธิศพัฒน์ วรรณสุทธิ์