Tuesday, 5 December 2023

สุดทึ่ง ต้นโพธิ์ใบสีชมพู 100 ปี ใน 1 ปีมีแค่ครั้งเดียว ของดีเมืองพิจิตร

เป็นอีกปรากฏการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน โดยมีต้นโพธิ์ในอำเภอบ างมูลนาก จังหวัดพิจิตรแตกใบเป็นสีชมพูสดใสสีสันดูสวยงามเป็นที่น่าประหลาดใจ

เรื่องนี้เกิดขึ้นที่วัดโพธิ์ทอง ตำบลเนินมะกอก อำเภอบ างมูลนาก จังหวัดพิจิตร พบต้นโพธิ์ที่มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น เนื่องจากใบเป็นสีชมพูทั้งต้นสวยงามอย่างที่เห็น โดยต้นโพธิ์สีชมพู มีอายุกว่า 10 ปี

ไวย าวัจกรวัดโพธิ์ทองบอกว่าต้นโพธิ์สีชมพู ออกมาเป็นลำต้นจากแขนงรากของต้นโพธิ์ใหญ่ ซึ่งตอนแรกที่เห็นใบเป็นสีชมพู คิดว่าคงจะเป็นใบอ่อน แล้วค่อยๆกลายเป็นสีเขียวเหมือนปกติ แต่ใบของต้นโพธิ์ ก็ยังเป็นสีชมพูทั้งต้นสร้างความประหลาดใจให้กับผู้พบเห็น ซึ่งจะเป็นแบบนี้ทุกปี ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน

หลังจากชาวบ้านและประชาชนที่รู้ข่าวต่างเข้ามาชมความสวยงามของต้นโพธิ์สีชมพู โดยหลายคนเข้ามากราบไหว้ ขอโชคลาภ และนำของเล่น และชุดไทยมาให้กับต้นโพธิ์สีชมพูต ามความเชื่อ ซึ่งชาวบ้านต่างเชื่อว่าเป็นต้นโพธิ์สีชมพูหนึ่งเดียวในภาคเหนือ

โดย อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ เคยโพสต์ถึงกรณีการเกิดต้นโพธิ์สีชมพูนี้ว่า “ใบโพธิ์สีชมพู เป็นเรื่องธรรมชาติ … แค่ต้นโพธิ์มันกลายพันธุ์ พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ต ามปรกติแล้ว ต้นโพธิ์เวลาที่มันผลัดใบ ใบใหม่ของมันจะเป็นสีขาวๆอมชมพู แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแดงเข้มขึ้น ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นสีเขียวในที่สุด…ดังนั้น ต้นที่เจอว่ามีใบสีชมพู ก็แสดงว่ามันกลายพันธุ์ ยีนที่สร้างคลอโรฟิลล์มันผิดปรกติไป ก็เลยไม่เขียวนั่นเอง

ต้นโพธิ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ตามกิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เมตร และมีน้ำยางสีขาว เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเทา โคนต้นเป็นพูพอนขนาดใหญ่ โดยจัดเป็นพรรณไม้ที่มีรูปทรงของลำต้นส่วนงามชนิดหนึ่ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ใช้กิ่งชำ หรือใช้กระโดงจากราก แต่ส่วนมากแล้วจะเจริญเติบโตจากสัตว์นำพา เช่น นกมากินเมล็ดและไปถ่ายทิ้งไว้ ก็จะเกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมา เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง พบขึ้นทั่วไปทั้งในทวีปเอเชีย ปากีสถาน จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบในธรรมชาติน้อยมาก เข้าใจว่ากระจายพันธุ์มาจากต้นที่มีการนำมาปลูกเอง และพบขึ้นมากตามซากอาคาร และนิยมปลูกกันทั่วไปในวัดทุกภาคของประเทศไทย

ขอบคุณเฟสบุ๊ก Nuttaporn Moungoon

Facebook Comments Box