เชื่อว่าคงจะเข้าใจลึกซึ้ง ถึงความหมายของประโยคที่ว่า..
“ถ้าไม่อย ากเสียเพื่อน อย่าให้เพื่อนยืมเ งิ น”
ตอนมายืมสุดเศร้า เล่าความลำบ าก เเต่เมื่อถึงกำหนดไม่ยอมคืน
บ างคนต้องบ ากหน้าไปทวง แต่ก็ยังไม่ได้คืน
ต้องเสียเพื่อนไปเพราะเ งิ นไม่เท่าไหร่มาหลายคนแล้ว
แม้เราจะทำอะไรเข าไม่ได้ แต่บ าปกรรม ทำหน้าที่ของมันเสมอ
คุณ ดังตฤณ หรือ ศรันย์ ไมตรีเวช
นักคิดนักเขียนแนวธรรมะ ที่ล่าสุดในเขียนในหัวข้อ
ยืมเ งิ นแล้วไม่คืน จะได้รับผลกรรมอย่างไร
โดยสรุปได้ว่า
ผลกรรมของการยืมเ งิ นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เพราะจะแปรไปตามเจตนาของผู้ยืม
บ างคนยืมแล้วเจตนาจะคืน แต่มีเหตุให้ไม่สามารถคืนได้
ผลกรรมย่อมแตกต่างจาก ผู้ที่ยืมและมีเจตนาว่าจะไม่คืน
หรือบอกผลัดไปเรื่อย ๆ
ทำให้ผู้ให้ยืมเดือดร้อนใจ เป็นกรรมทางใจ
อยู่ที่จะเลือก ต่อเวรหรือหยุดเวร
แม้ในทางโลกจะเหมือนเราเสียเ งิ นให้เข าฟรี ๆ
แต่ทางธรรมคือเรายกหนี้กรรมให้เข าไปแบกแทน
ให้ลองย้อนตั้งคำถามกับตนดูว่า
สมควรจะโกรธแค้นตัวตๅยตัวแทนนี้อยู่หรือไม่?
โดยเนื้อหาของบทความฉบับเต็มมีดังนี้
ยืมเ งิ นแล้วไม่คืน ผลอาจไม่เหมือนกัน
ต้องดูที่ตัวกรรมของแต่ละคน เมื่อรู้ว่ากรรมเป็นอย่างไร
ก็จะพออนุมานถูกว่า ผลกรรมน่าจะประมาณไหน
รูปแบบของกรรม แปรไปตามเจตนา
รวมทั้งความสามารถ ที่จะทำให้สำเร็จตามเจตนาด้วย
บ างคนยืมด้วยความตั้งใจคืน อาจมีข้อสัญญาชัดเจนว่า
จะคืนเมื่อใด ให้หรือไม่ให้ดอกเบี้ย แล้วคืนได้ตามนั้น
พร้อมของแถมตามข้อตกลง ผลที่เกิดขึ้นทันที
คือความผูกพันในทางดี เป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับกันและกัน
ฝ่ายให้ ถือว่าได้บุญที่ให้โอกาส
ฝ่ายรับ ถือว่าได้บุญที่ได้ทำตามที่พูด
มีความสุข มีความเป็นผู้ใหญ่ด้วยกันทั้งคู่
บ างคนยืมด้วยการตั้งใจคืน เสร็จแล้วคืนไม่ได้ ชนิดสุดวิสัย
อย่างนี้ไม่ได้ตั้งใจโกง ไม่ได้ผิดศีลข้อ 2
แต่ผลที่เกิดขึ้นทันทีในชาติปัจจุบัน
คือ ความทรมานใจ การข าดความนับถือตัวเอง
และการไม่เป็นที่น่าเชื่อถือของคนอื่น
ส่วนผลในชาติถัดไปก็พอสมน้ำสมเนื้อ
เช่นที่ให้เ งิ นใครยืมแล้วไม่ได้คืน
เพราะเหตุสุดวิสัยของลูกหนี้ เป็นต้น
บ างคนยืมด้วยความตั้งใจเรื่อย ๆ มาเรียง ๆ
ไม่ฟันธง ไม่แน่ใจว่าจะคืนเมื่อไร
คิดเผื่อไว้แค่แผ่ว ๆ ว่า เดี๋ยวมีมาก ๆ ค่อยให้
แบบนี้เหมือนก้ำกึ่ง เพราะทำไป ๆ มีสิทธิ์พลิกจาก “เดี๋ยวจะคืน”
เป็น ไม่คืนดีกว่า เอาได้ง่าย ๆ ถึงจุดหนึ่งคนพวกนี้
จะลืมความสัมพันธ์เก่า ๆ หมด พอเห็นตัวเลขในบัญชีที่คืนได้
แต่เกิดความเสียดาย ความตระหนี่เข้าครอบงำจิตใจ
รู้สึกขึ้นมาว่าอยู่ในบัญชีฉัน แปลว่าเ งิ นฉัน
เรื่องอะไรจะให้มันหายไปอยู่ในมือคนอื่น
ความสำคัญมั่นหมายว่า “ของฉัน” ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่นั่นแหละ
คือมุขเด็ด ที่กิเลสบงการ ให้ก่อบ าปกันดื้อ ๆ
ผลทันทีคือมีจิตอ่อนแอ คิดอะไรแบบเด็ก ๆ
อยู่บนเส้นทางของคนเหลวไหล ข้างหน้าจึงสมควรกับชะตา
ที่ดูเหลวไหลไร้เหตุผล วันหนึ่งเหมือนมีทรัพย์ที่ยั่งยืน
อีกวันกลับมลายหายไป ราวกับความฝัน เป็นต้น
บ างคนยืมด้วยความตั้งใจไม่คืนตั้งแต่แรก
แต่มาหว่านล้อมล่อหลอกว่าจะคืน
พร้อมดอกเบี้ยมหาศาลบ านตะไท
ที่มายืมตรงนี้ก็เพียงเพราะ อย ากประชดแบงก์ที่กู้ย ากกู้เย็นนัก
อันนี้ผิดศีลข้อ 2 เต็ม ๆ เพราะขึ้นต้นด้วยเจตนาถือเอาทรัพย์
ที่เจ้าของมิได้ยกให้ และการผิดแบบนี้แถมพกข้อ 4 มาด้วย
ฉะนั้น ในที่ที่กรรมเผล็ดผล โทษสถานเบ าในโลกมนุษย์
คือต้องเหมารวมทั้งผลของ การผิดข้อ 2 และ 4 รวมกันสองกระทง
ผลของข้อ 2 คือเป็นผู้มีทรัพย์พินาศด้วยเหตุร้าย
ผลของข้อ 4 คือเป็นผู้ถูกหลอกลวง ถูกใส่ร้าย
พูดง่าย ๆว่า มีสิทธิ์เสียทั้งทรัพย์ เสียทั้งชื่อเสียง ด้วยการถูกใส่ร้าย ใส่ไคล้
หรือถูกต้มตุ๋นล่อลวงได้สารพัด
แต่ข้อเท็จจริง เป็นเช่นที่พระพุทธเจ้าตรัส
คือ คนโกหกเป็นนิตย์ ที่จะทำชั่วอะไรไม่ได้นั้นไม่มี
ยิ่งถ้ามาถึงขั้นโกหกเพื่อเชิดเ งิ นคนอื่นได้
ทำให้เข าเดือดร้อนหน้าตาเฉยได้
ก็แปลว่าต้องทำบ าป ร้ายกาจได้หนักกว่านี้ไปเรื่อย ๆ
ฉะนั้น โทษทัณฑ์ที่แท้จริง
ก่อนจะมีสิทธิ์ได้กลับมาเป็นมนุษย์
จึงน่ากลัวกว่าที่เราเห็น ๆ กัน
ขณะเป็นมนุษย์ ในฐานะคนถูกโกง
ก็ต้องระลึกด้วยว่า เกมกรรมยังไม่จบ
คนถูกโกง ก็ต้องมีกรรมในขั้นต่อไป
เมื่อทวงแล้วไม่คืน เมื่อฟ้องแล้วไม่สำเร็จ
(เพราะมักไม่มีสัญญา เป็นลายลักษณ์อักษรกัน)
ที่สุดก็เหลือกรรมทางใจ จะคุมแค้น
อย ากลงมือแก้แค้นให้หายเจ็บใจ
หรือจะเลือกเชื่อว่านี่เป็นโอกาสดี
ชาตินี้ได้รู้จักศาสนา ที่สอนเรื่องเหตุและผล
ทำเหตุอย่างไรมา ก็ต้องได้ผลอย่างนั้นบ้าง
รู้แล้วเราจะเลือกต่อเวรหรือหยุดเวร
ทางโลกเหมือนยกให้เข าได้เ งิ นไปฟรี ๆ
แต่ทางธรรมคือ ยกหนี้กรรมให้เข ารับไปแบกแทน
ในเมื่อมีตัวตๅยตัวแทนมารับช่วงถึงที่
เราสมควรแค้นเคืองหรือขอบคุณ
อย่าทำร้ายความเป็นเพื่อนด้วยคำว่ายืมตังค์ อย่าปล่อยให้อยู่ลำพังพร้อมกับคำว่าไม่คืน